อุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในพื้นที่
ที่มีสุขอนามัยไม่ดี ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ
ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในหนึ่งวัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและมักหาย
ได้เอง ส่วนน้อยมีอาการรุนแรงและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นแบคทีเรียไวรัส โปรโตชัว
หรือพยาธิ โดยผู้ป่วยได้รับเชื้อจากการกินอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
เข้าไปอาการของอุจจาระร่วงเฉียบพลันมักจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อตั้งแต่
12 ชั่วโมงถึง 4 วัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
การแพ้อาหาร โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังหรือเกิดจากผลข้างเคียงของยา เป็นต้น

อาการ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง อาจถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็น
น้ำเพียงอย่างเดียว และจำนวนครั้งของการถ่ายไม่มากนัก ส่วนผู้ป่วยมี
อาการรุนแรง อาจถ่ายอุจจาระปริมาณมากหรือถ่ายเกิน 10 ครั้ง ต่อวัน
ทำให้มีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ปริมาณมากจนอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำได้
อาการที่อื่นที่พบร่วมด้วย
ได้แก่ มีไข้ และปวดท้องผู้ป่วยที่มีอาการต่อไปนี้ควรไปพบ
แพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปริมาณมากและมีอาการ
ของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง คอแห้ง มึนศรีษะ เมื่อลุกนั่งหรือยืน
ปัสสาวะออกน้อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น อาเจียนบ่อยจนกินอาหาร
และน้ำไม่ได้ ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือเป็นเลือดสด
มีไข้สูงตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียนขึ้นไป ปวดท้องรุนแรง ถ่ายอุจจาระตั้ง
แต่ 6 ครั้งขึ้นไปในหนึ่งวัน อาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง
การตรวจวินิจฉัย
ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องตรวจอุจจาระเพื่อ
หาสาเหตุของโรค เนื่องจากมักหายได้เองภายใน 48 ชั่วโมง ส่วนในรายที่
มีอาการรุนแรงแพทย์อาจส่งตรวจอุจจาระและเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุและตรวจ
เลือดเพื่อดูความรุนแรงของโรค

การรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง สามารถดื่มน้ำเกลือแร่ที่เตรียมจากผง
เกลือแร่ซึ่งผลิตสำหรับโรคอุจจาระร่วงโดยเฉพาะเพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่สูญ-
เสียไป เครื่องดื่มเกลือแร่ที่ใช้ในนักกีฬาหรือหลังออกกำลังกายเพื่อชดเชยเหงื่อ
ที่เสียไปนั้น มีปริมาณเกลือแร่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยการสูญเสียจากการถ่าย
อุจจาระในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาจให้ยาเพื่อรักษาอาการที่พบร่วมด้วย
เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวดท้อง เป็นต้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อเฉพาะใน
รายที่มีอาการรุนแรงหรือภูมิต้านทานต่ำไม่ควรให้ยาหยุดถ่ายในผู้ป่วยที่มีใช้หรือ
ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด เนื่องจากยาหยุดถ่ายไม่ได้รักษาที่สาเหตุ

การป้องกัน
– กินอาหารและดื่มน้ำที่สุกสะอาด
– ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนกิน
– ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
– รักษาความสะอาดของอุปกรณ์และภาชนะที่ใช้
– หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ปรุงไว้แล้วนาน ๆ โดยไม่ได้เก็บอย่างถูกวิธี