Categories
บทความ

ทำไมนั่งทำงานหรือขับรถนานๆแล้วถึงปวดก้นร้าวลงขา

ทำไมนั่งทำงานหรือขับรถนานๆแล้วถึงปวดก้นร้าวลงขา

ทำไมนั่งทำงานหรือขับรถนานๆแล้วถึงปวดก้นร้าวลงขา?

อาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือเรียกว่า “Piriformis syndrome” เป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากกล้ามเนื้อ piriformis ที่อยู่บริเวณก้นใกล้กับสะโพก มีความตึงตัวมากทำให้ไปกดทับเส้นประสาท scistic ส่งผลให้มีอาการปวดก้นร้าวไปยังขา

สาเหตุการเกิด

มักเกิดจาก ปัจจัยเสียงดังต่อไปนี้

– เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า

– ออกกำลังกายมากเกินไป

– นั่งเป็นเวลานาน นั่งไขว้ห้าง

– เกิดอุบัติเหตุเช่น ลื่นล้ม

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคนี้

    โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในคนหลายๆ กลุ่ม โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานนานๆ ในออฟฟิศ ทำให้เกิดการงอสะโพก และมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้

    คนที่ต้องนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานขับรถ พนักงานขายตั๋ว รวมถึงคนที่เคลื่อนไหวสะโพกมากเกินไป เช่น ออกกำลังกายหนักๆ นักวิ่ง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ได้

การรักษาเบื้องต้น

– หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดกำเริบ

– ประคบร้อนบริเวณก้นและขาบริเวณที่ปวด 15 -20 นาที

– ออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงตัว มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

     1. นอนราบกับพื้นแล้วชันเข่าทั้ง 2 ข้างเป็นท่าเตรียมพร้อม

     2. ยกข้อเท้าซ้ายขึ้นแล้ววางพาดไว้บนเข่าขวา

     3. ใช้มือดึงเข่าขวาเข้าหาอก แล้วค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ วางขากลับไปยังท่าเตรียมพร้อมสลับมายกข้อเท้าขวาในท่าเดียวกัน ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง/set ทำ 3 set

ออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงตัว

การป้องกันการเกิดโรค

– คนที่ต้องนั่งทำงานนานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง เช่น ไปเข้าห้องน้ำ ไปดื่มน้ำ เพื่อเปลี่ยนแปลงท่านั่ง ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็จะลดลง

– ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะในคนที่มีอาการของโรคนี้แล้ว ควรลดการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณก้น หรือการออกกำลังกายที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณสะโพกมากๆ เน้นเป็นวิธีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะเหมาะสมมากกว่า

    หากความรู้สึกปวดและชาบริเวณก้นหรือขาไม่ดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ ควรรีบมาพบนักกายภาพบำบัดเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

ที่มา https://www.rehabcareclinic.com/blog/ทำไมนั่งทำงานหรือขับรถนานๆแล้วถึงปวดก้นร้าวลงขา

Categories
บทความ

5 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่มากับหน้าฝน

5 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่มากับหน้าฝน

เนื่องจากฤดูฝนอากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย มีความชื้นมาก ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้ดี หากถูกฝนก็มีโอกาสเจ็บป่วย มีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้ง่าย จึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือและป้องกันกลุ่มโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ

กลุ่มโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ

1) โรคหวัด (Acute Rhinopharyngitis: Common Cold)

โรคหวัดหรือไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common Cold) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กสามารถเป็นได้หลายครั้งในแต่ละปี ในผู้ใหญ่จะเป็นน้อยลงตามลำดับเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นโรคหวัด 6 – 12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2 – 4 ครั้งต่อปี ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจึงเน้นรักษาประคับประคองอาการจนอาการหายดีเอง

การติดต่อ

ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่มากกว่า 100 ชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัสประเภทคอรีซา (Coryza Virus) ได้แก่ ไรโนไวรัส (Rhinovirus) และอื่น ๆ ติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่กระจายจากการไอหรือหายใจรดกัน หรือมือที่เปื้อนเชื้อโรคสัมผัสจมูกหรือตา ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและ 1 – 2 วันหลังเกิดอาการ

อาการที่พบ
เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เยื่อบุโพรงจมูก เชื้อจะเกาะและเข้าสู่เซลล์เยื่อบุ แบ่งตัวเพิ่มจำนวน และทำให้เซลล์ถูกทำลาย เกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุบวม และแดง พบว่ามีการหลั่งของเมือกออกมา ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1 – 3 วัน (โดยเฉลี่ย 10 – 12 ชั่วโมง) จึงจะแสดงอาการ

อาการของโรคหวัด ได้แก่

  • คัดจมูก
  • น้ำมูกไหลลักษณะใส
  • ไอ
  • จาม
  • เจ็บคอ
  • เสียงแหบ
  • อาจมีอาการไข้ต่ำ ๆ
  • ปวดศีรษะเล็กน้อย
ในผู้ใหญ่อาการจะน้อยมาก อาจมีแค่คัดจมูกและน้ำมูกไหล (ยกเว้นผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ) อาการของโรคมักเป็นไม่เกิน 2 – 5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนาน 10 – 14 วัน

การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรคหวัด
  1. เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ จนอาการหายดีเอง การใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาได้
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ
  3. ดื่มน้ำมาก ๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น)
  4. รักษาร่างกายให้อบอุ่น
  5. รับประทานอาหารอุ่น
  6. หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสเกิดการอักเสบติดเชื้อได้
  7. เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก

ป้องกันการติดเชื้อหวัด

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัด ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตา
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด
  4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิด

อาการที่ควรไปพบแพทย์

  • เมื่อน้ำมูกหรือเสมหะเหลืองเขียว
  • ปวดหู หูอื้อ
  • ปวดศีรษะมาก
  • ไข้สูง
  • มีอาการหอบเหนื่อย
ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อน หากมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่โรคหวัด

ภาวะแทรกซ้อน

  1. คนที่เป็นโรคหวัดบางส่วนจะมีการติดเชื้อของแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการน้ำมูกข้น สีเหลืองหรือเขียว มีเสมหะเขียว
  2. ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน
  3. เยื่อบุตาอักเสบ
  4. หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ
  5. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืดหรือถุงลมในปอดโป่งพอง เมื่อเป็นโรคหวัดจะทำให้อาการหอบเหนื่อยรุนแรงมากขึ้น

2) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคติดต่อที่เกิดการระบาดใหญ่เป็นครั้งคราว เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดได้ทั่วโลก โดยแต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด พบได้ในทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กจะติดเชื้อได้ง่าย ส่วนผู้สูงอายุเมื่อติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงกว่า ความรุนแรงโรคอาจมีแค่อาการไข้สูง ไอ ปวดตามร่างกาย หรือรุนแรง มีอาการปอดอักเสบ การรักษาใช้การรักษาประคับประคองอาการหรือยาต้านไวรัสในรายที่รุนแรง ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งได้ผลดีมากในการช่วยลดความรุนแรงของโรค

การติดต่อ 

ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ ได้แก่
  • สายพันธุ์เอ (Influenza A Virus) พบได้ประมาณร้อยละ 80 เป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่บ่อยครั้ง
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (Influenza B Virus) พบบ่อยรองลงมา
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ซี (Influenza C Virus) มีความรุนแรงน้อยไม่ค่อยมีความสำคัญ

เชื้อไวรัสติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่กระจายจากการไอหรือหายใจรดกัน หรือมือที่เปื้อนเชื้อโรคสัมผัสจมูก ผู้ที่มีเชื้อไวรัสในร่างกายสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนที่จะมีอาการ และต่อไปได้อีก 3 – 5 วันหลังจากที่มีอาการแล้ว หรือบางรายไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน

อาการที่พบ

หลังจากเชื้อไวรัสเข้าสู่ทางเดินหายใจ ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1 – 7 วัน (โดยเฉลี่ย 2 – 3 วัน) จะเริ่มแสดงอาการ

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่

  • ไข้สูงเฉียบพลัน (39 –  40 องศาเซลเซียส)
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกระบอกตา
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • อ่อนเพลียมาก
  • อาจมีอาการคัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหลลักษณะใส หลอดลมอักเสบ
  • อาจมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ถ่ายอุจจาระเหลว คลื่นไส้ อาเจียน
โดยส่วนใหญ่อาการจะหายเป็นปกติได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่
  1. โรคปอดอักเสบติดเชื้อ หลอดลมอักเสบ หากอาการรุนแรงมากจะเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้
  2. ภาวะสมดุลน้ำผิดปกติ เนื่องจากมีไข้สูง ดื่มน้ำได้น้อยลง หรือมีอาเจียน
  3. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (พบน้อย)
  4. สมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (พบน้อย)
  5. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืดหรือถุงลมในปอดโป่งพอง เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ จะทำให้อาการหอบเหนื่อยรุนแรงมากขึ้น

ผู้ป่วยกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูง ได้แก่

  • ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี (เอดส์) มะเร็ง เอสแอลอี (โรคพุ่มพวง) เป็นต้น
  • เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่รับประทานยาแอสไพรินเป็นเวลานาน
  • หญิงที่ตั้งครรภ์หรือผู้ป่วยโรคอ้วน

การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่

  1. เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ จนอาการหายดีเอง การใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาได้
  2. ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีความเสี่ยงสูง อาจพิจารณาการใช้ยาต้านไวรัส
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเท
  4. เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ
  5. ในเด็กเล็กควรเช็ดตัวลดไข้บ่อย ๆ เพราะไข้สูงอาจกระตุ้นให้ชักได้ วิธีการเช็ดตัวควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาเช็ด ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็งเช็ดตัว
  6. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ภูมิต้านทานโรคน้อย เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกันอยู่

การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตา
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด
  4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ปัจจุบันแนะนำให้ฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลควรฉีดทุก 1 ปีเนื่องจากมีการเปลี่ยนสายพันธุ์บ่อย

อาการที่ควรไปพบแพทย์

  1. ผู้ที่มีอาการรุนแรง หายใจหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก อ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้ หรือมีอาการนานกว่า 7 วัน
  2. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน หากมีอาการข้างต้น สงสัยเป็นไข้หวัดใหญ่ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการไข้สูงนานประมาณ 3 วัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาการที่เป็นอยู่อาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นที่คล้ายกันได้ เช่น ไข้เลือดออก

3) คออักเสบ (Acute Pharyngitis)

โรคคออักเสบ (Acute Pharyngitis) เกิดจากเยื่อบุภายในคออักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากส่วนใหญ่ สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กจะพบได้บ่อยกว่า ความรุนแรงของโรคไม่มาก มักมีอาการกลืนเจ็บ แสบคอ และสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่การติดเชื้อแบคทีเรียอาจทำให้มีอาการนาน การรักษาจะเน้นการรักษาประคับประคองอาการจนหายดี 

การติดต่อ

ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (40 – 80%) รองลงมาเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย (20%) เชื้อไวรัสส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Rhinovirus, Adenovirus และ Coronavirus อาการส่วนใหญ่คล้าย ๆ กันและเป็นไม่มากนัก เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคที่พบมากที่สุดและมีความสำคัญมากคือ กลุ่มสเตรปโตคอกคัส Streptococcus spp. (โดยเฉพาะ S. pyogenes) เชื้อติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลายและเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่กระจายจากการไอหรือหายใจรดกัน หรือมือที่เปื้อนเชื้อโรคสัมผัสจมูก ช่องปาก ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและหลังเกิดอาการ (ระยะเวลานานขึ้นกับชนิดของเชื้อ)

อาการที่พบ

บริเวณที่เป็นคออักเสบจะอยู่พื้นที่ระหว่างหลังโพรงจมูกกับกล่องเสียง เมื่อเชื้อเข้ามาจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและทำลายเซลล์ เกิดการอักเสบ เชื้อไวรัสมักใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1 – 3 วัน ส่วนเชื้อแบคทีเรีย (กล่าวถึงกลุ่มสเตรปโตคอกคัส) ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 – 5 วัน

อาการคออักเสบ ได้แก่

  • เจ็บคอ
  • กลืนเจ็บ
  • ไอ
  • ปวดศีรษะ
  • ไข้
  • อาจพบต่อมน้ำเหลืองโต
  • ถ้าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจะมีอาการไข้สูง เจ็บคอมาก คอแดงมาก มีจุดหนองที่คอเพิ่มเติม
อาการมักดีขึ้นเองภายใน 7 – 10 วัน แต่ในกลุ่มติดเชื้อสเตรปโตคอกคัสอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรคคออักเสบ
  1. กรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้เจ็บคอ ยาแก้ไอ ยาลดไข้จนอาการหายดีเองกรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พิจารณาการใช้ยาฆ่าเชื้อและต้องรับประทานจนครบตามแพทย์สั่ง
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ
  3. ดื่มน้ำมาก ๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น แต่ถ้าเจ็บคอมากอาจจิบน้ำเย็นเพื่อลดอาการเจ็บได้)
  4. รักษาร่างกายให้อบอุ่น
  5. อาจจิบน้ำผึ้งผสมน้ำมะนาว
  6. เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก

การป้องกันการติดเชื้อคออักเสบ

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัดหรือคออักเสบ ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด

อาการที่ควรไปพบแพทย์

  • น้ำมูกหรือเสมหะเหลืองเขียว
  • ปวดหู หูอื้อ
  • ไข้สูง
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • มีอาการแทรกซ้อนอื่น หรืออาการคออักเสบเป็นอยู่นานเกิน 7 วัน หรือเมื่อรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 วัน

ภาวะแทรกซ้อน

ในคออักเสบชนิดติดเชื้อไวรัส ภาวะแทรกซ้อนมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก มักเกิดจากการที่มีการติดเชื้อของแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย (ยกเว้นเชื้อไวรัสบางชนิดที่พบไม่บ่อย เช่น Ebstein-Barr Virus (EBV) จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก) ในคออักเสบชนิดติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะกลุ่มสเตรปโตคอกคัส แบ่งภาวะแทรกซ้อนได้เป็น

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับหนอง มักเกิดจากเชื้อโรครุกล้ำบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ ฝีรอบต่อมทอนซิล ฝีข้างคอหอย ฝีที่ผนังคอหอย ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่เกี่ยวกับหนอง เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไว้ต่อสู้กับเชื้อมาทำลายอวัยวะของผู้ป่วยเอง ได้แก่ ไข้รูห์มาติก, โรคหัวใจรูห์มาติก, ไตอักเสบ เป็นต้น

4) โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)

โรคปอดอักเสบ หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “ปอดบวม” เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดการติดเชื้อบริเวณปอด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย และทำให้เกิดการอักเสบ บวม มีน้ำหรือหนองอยู่ภายในถุงลมปอด ทำให้การแลกเปลี่ยนอากาศทำได้ไม่ดี พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว โรคปอดอักเสบสามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ แต่ในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปีและผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสเกิดความรุนแรงของโรคได้มากกว่า โรคปอดอักเสบทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหายใจหอบเหนื่อย ในรายที่มีอาการมากอาจเสียชีวิตได้ การรักษาอาจพิจารณาใช้ยาฆ่าเชื้อตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ร่วมกับการให้ออกซิเจนเสริม และการรักษาตามอาการจนอาการหายดี

เชื้อที่ก่อโรค
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ เชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
  • เชื้อไวรัสที่พบบ่อย ได้แก่ อดิโนไวรัส (Adenovirus), อินฟลูเอนซา (ไข้หวัดใหญ่ : Influenza), พาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) และอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus : RSV)
  • เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ได้แก่ สเตรปโตคอกคัส (Streptococcus Pneumoniae), ฮีโมฟิลุส (Haemophilus Influenzae), มอแรกเซลลา (Moraxella Catarrhalis) และ ไมโคพลาสมา (Mycoplasma Pneumoniae)

การติดต่อ

ติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในละอองฝอยกระจาย จากการไอหรือหายใจรดกัน หรืออาจเกิดจากการสำลักเชื้อลงสู่ปอด เช่น สำลักน้ำลาย อาหาร (โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ) ระยะเวลาแพร่เชื้อขึ้นกับชนิดของเชื้อและสามารถแพร่เชื้อได้จนกว่าเชื้อในเสมหะจะน้อยลงมาก การระบาดสามารถเกิดได้ในบริเวณที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ค่ายทหาร เรือนจำ

อาการที่พบ

เมื่อเชื้อลงมาที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอดและถุงลมปอด เชื้อจะแบ่งตัวและทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด ต่อมาภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเข้ามาทำลายเชื้อ เกิดการอักเสบบวมมากขึ้น และมีน้ำหรือหนองอยู่ภายในถุงลมปอดแทนที่อากาศ ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างถุงลมและเลือดทำได้ไม่ดี ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะขาดออกซิเจนในร่างกาย มีอาการไอ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น

อาการของโรคปอดอักเสบ ได้แก่

  • ไข้
  • ไอ
  • มีเสมหะ
  • หายใจเร็ว
  • หายใจลำบาก
  • หอบเหนื่อย
  • หายใจเจ็บหน้าอก
ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีหายใจแรงจนจมูกบาน บางรายเกิดหลอดลมภายในปอดตีบจนหายใจดังวี๊ด (คล้ายหอบหืด) ในรายที่มีอาการรุนแรงมากจะมีภาวะการหายใจล้มเหลว ร่างกายขาดออกซิเจนมาก ทำให้ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยน หงุดหงิด สับสน ซึมลง หมดสติ และเสียชีวิตได้ ระยะเวลาการเป็นโรคขึ้นกับชนิดของเชื้อโรคและความรุนแรงของโรค

การป้องกันการติดเชื้อ

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีคนแออัด โดยเฉพาะเด็กเล็ก ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตา
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด
  4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ปัจจุบันแนะนำให้ฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลควรฉีดทุก 1 ปีเนื่องจากมีการเปลี่ยนสายพันธุ์บ่อย
  5. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (Invasive Pneumococcal Disease : IPD) ป้องกันและลดความรุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus Pneumoniae) โดยเฉพาะเด็กและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่ควรฉีดได้แก่
    • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง พิษสุราเรื้อรัง ตับแข็ง ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต
    • ผู้ที่ถูกตัดม้าม ไม่มีม้ามตั้งแต่กำเนิดหรือม้ามทำหน้าที่ไม่ดี
    • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) ผู้ที่เป็นมะเร็งได้ยาเคมีบำบัด หรือผู้ที่ได้ยากดภูมิคุ้มกัน

อาการที่ควรไปพบแพทย์

  • ไข้
  • ไอ
  • ไอปนเลือด
  • หายใจหอบเหนื่อย หายใจเหนื่อยมากขึ้น
  • หายใจเจ็บหน้าอกมาก
  • แน่นหน้าอก
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด

ภาวะแทรกซ้อน

โดยปกติโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดได้ไม่มาก ยกเว้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะมีโอกาสเกิดได้มากกว่า ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ได้แก่

  • มีน้ำหรือมีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด หรืออาจเกิดปอดแตก และเกิดปอดแฟบได้
  • มีฝีหรือโพรงหนองที่ปอด หรือมีหนองที่หลอดลม
  • ภาวะหายใจล้มเหลวต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ และอาจเสียชีวิตได้
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจอักเสบ (พบได้น้อย)

5) หลอดลมอักเสบ (Acute Bronchitis)

โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) สามารถแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ในชนิดที่จะกล่าวถึงนี้คือ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis) เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อที่หลอดลม หลอดลมในร่างกายมีขนาดใหญ่และจะแตกแขนงเป็นขนาดเล็กย่อย ๆ จนกว่าจะถึงถุงลม ปอด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบบวม ทำให้การไหลผ่านอากาศทำได้ไม่ดี พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว พบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ โรคหลอดลมอักเสบทำให้เกิดอาการไอมาก มีเสมหะ หายใจลำบาก การรักษามักใช้การรักษาประคับประคองตามอาการจนอาการหายดี

การติดต่อ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยส่วนใหญ่ได้แก่เชื้อ อดิโนไวรัส (Adenovirus), ไรโนไวรัส (Rhinovirus), อินฟลูเอนซา (ไข้หวัดใหญ่ : Influenza), พาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) และ อาร์เอสวี (Respiratory syncytial virus : RSV) ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือ ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) และ คลาไมเดีย (Chlamydia) การติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลายและเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในละอองฝอยกระจายอยู่ในอากาศ จากการไอหรือหายใจรดกัน ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและหลังเกิดอาการ

อาการที่พบ

เมื่อเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจบริเวณหลอดลม เชื้อจะแบ่งตัวและทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมและบวมมากขึ้น ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบ อากาศไหลผ่านหลอดลมเข้าปอดได้ไม่ดี หายใจลำบาก ในรายที่หลอดลมตีบมาก ๆ จะหายใจดังวี้ดได้ และจากการอักเสบทำให้การขับเสมหะของเยื่อบุหลอดลมไม่ดี ส่งผลให้เกิดอาการไอมากขึ้น อาจไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะ อาจมีอาการอื่น ๆ คล้ายอาการของโรคหวัด เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไข้ต่ำๆ ได้ อาการของโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่มักหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน แต่อาการไอแห้ง ๆ อาจเป็นได้นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาการไอ จะไอบ่อยครั้ง ไอถี่ ๆ หรือเป็นชุด อาจมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อหน้าอกหรือชายโครงได้ ในบางรายอาจมีปัสสาวะเล็ดได้

การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นหลอดลมอักเสบ

  1. เนื่องจากส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม จนอาการหายดีเอง ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียอาจพิจารณาการใช้ยาฆ่าเชื้อ
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารอุ่น
  3. เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเมื่อสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ
  4. งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ฝุ่น เขม่าควันต่าง ๆ หรือสารที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ

การป้องกันการติดเชื้อ

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
  3. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด

อาการที่ควรไปพบแพทย์

  • ไอมาก
  • ไอถี่ ๆ
  • ไอปนเลือด
  • มีเสมหะข้นกลิ่นเหม็น
  • มีไข้สูง
  • หายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น
  • แน่นหน้าอก
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • มีโรคประจำตัวเดิมเป็นโรคปอดเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม

ภาวะแทรกซ้อน

  1. หลอดลมอักเสบจากเชื้อไวรัส อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการไอมาก มีเสมหะข้นสีเหลืองหรือเขียว ทำให้ระยะเวลาดำเนินโรคนานกว่าปกติ
  2. โรคปอดอักเสบ พบได้ประมาณ 5 ใน 100 จะมีอาการไข้ ไอมีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะแย่กว่าหลอดลมอักเสบ

Cr. https://www.bangkokhospital.com/content/5-respiratory-infections-came-with-rain

Categories
บทความ

รู้จัก! วัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย

รู้จัก! วัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย

โรคไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า ซัลโมเนลล่า ไทฟี่ (Salmonella typhi) ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ หากไม่ได้รับการรักษาและเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ก็อาจนำไปสู่ “ภาวะไตวาย” ได้!

 

สัญญาณเตือนแบบนี้ เสี่ยง “ไข้รากสาดน้อย”

อาการของโรคไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย ได้แก่ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาจมีผื่น ถ่ายเหลวหรือท้องผูก ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา จะมีไข้นานถึง 3-4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงขึ้น เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร ลำไส้ทะลุ หรือไตวายได้ ในขณะที่ผู้ป่วยบางราย…แม้จะหายจากโรคแล้ว แต่ก็ยังสามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นต่อไปได้

 

วัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ชนิดฉีด คืออะไร ?

เป็นวัคซีนที่ทำมาจากเชื้อไทฟอยด์ที่ตายแล้ว ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ทำให้เกิดโรคไข้ไทฟอยด์ในผู้ที่ได้รับวัคซีน เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ และเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป

 

ผู้ที่ “ควร” ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์

    • ผู้ที่จะเดินทางไปยังถิ่นที่มีการระบาดของโรค เช่น ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน ประเทศในแถบละตินอเมริกา หรือแอฟริกา โดยควรรับวัคซีนก่อนเดินทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์
    • ผู้ที่ใกล้ชิดหรืออาศัยอยู่กับผู้ที่เป็นพาหะของโรคไข้ไทฟอยด์
    • เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่ทำงานเกี่ยวกับเชื้อไทฟอยด์
    • สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต้องการสัมผัสเชื้อควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น 1 เข็ม ทุก 2-3 ปี
  •  
  •  

 

ผู้ที่ “ควรงด” รับวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์

    • เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ในครั้งก่อน
    • หากมีไข้ เจ็บป่วยเฉียบพลัน ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน รอให้หายป่วยก่อนจึงค่อยมารับวัคซีน กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้

 

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์

    • อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ อย่างไรก็ตามอาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ที่รับวัคซีนรวมป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์มักไม่มีปัญหาใดๆ
    • ปฏิกิริยาที่อาจพบหลังฉีดวัคซีน ได้แก่ ปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน
    • อาจพบไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย แต่มักไม่รุนแรง และหายได้เองใน 1-2 วัน
    • หากมีอาการปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีนสามารถประคบเย็นได้ และหากมีไข้ต่ำๆ สามารถรับประทานยาลดไข้ได้ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ควรปรึกษาแพทย์
  •  
  •  

 

หมายเหตุ :

    • ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ เกี่ยวกับการให้วัคซีนชนิดนี้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร อาจให้ได้ในกรณีจำเป็น
    • แม้ได้รับวัคซีนแล้ว ก็ยังควรรับประทานอาหารและน้ำที่สะอาด เพราะหากได้รับเชื้อจำนวนมาก ก็ยังสามารถติดโรคได้
    • วัคซีนชนิดนี้ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อจาก เชื้อซัลโมเนลล่า ชนิดอื่นได้
    • หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

Cr. https://www.phyathai.com/th/article/typhoid-vaccine

Categories
บทความ

โรคอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษอันตรายที่มากับอาหาร

สาเหตุของอาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่ภาวะอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ซึ่งเชื้อที่มักเป็นสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ คือ
  • ซาลโมเนลลา (Salmonella) พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
  • เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) หรืออีโคไล (E. Coli) บางสายพันธ์ุ โดยพบมากในเนื้อสัตว์ดิบ
  • คลอสติเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อย จึงมักพบในอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น หน่อไม้ปี๊บ หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น
  • ชิเกลล่า (Shigella) พบการปนเปื้อนทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารสดน้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมไปถึงอาหารสดที่สัมผัสกับคนที่มีเชื้อโดยตรง
  • ไวรัสที่ก่อโรคในทางเดินอาหาร (Enteric Viruses) ที่มักปนเปื้อนได้ทั้งในอาหารสด สัตว์น้ำที่มีเปลือก และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด
อาการของอาหารเป็นพิษ
ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของเชื้อที่ร่างกายได้รับเข้าไป โดยอาจมีอาการหลังรับประทานอาหารไม่กี่ชั่วโมง หรือนานเป็นสัปดาห์หากได้รับเชื้อรุนแรง โดยอาการป่วยของผู้ที่เผชิญภาวะอาหารเป็นพิษ มีดังนี้
  • รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง หรืออาเจียนรุนแรงจนมีเลือดออกได้
  • มีอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพักๆ เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้
  • ถ่ายเหลว ถ่ายมีมูก หรือเลือดปน
  • ไม่อยากอาหาร
  • มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง ตาโบ๋ กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะน้อย เป็นต้น มีไข้
การป้องกันอาหารเป็นพิษ
  • ดื่มน้ำสะอาด
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก
  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ค้างคืน
  • เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู และสัตว์อื่นๆ
  • แยกอาหารดิบและสุกออกจากกัน ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนทำอาหาร หรือขนมทุกครั้ง
  • ใช้ช้อนกลาง
การรักษาอาหารเป็นพิษ
โดยปกติถ้าอาการของผู้ป่วยไม่รุนแรงสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยรักษาตามอาการ และปฎิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • ดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ หรือ ORS เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุบางชนิดที่สูญเสียไปจากการอาเจียนและถ่ายอุจจาระ โดยให้จิบทีละน้อยตลอดทั้งวันควบคู่กับการรับประทานอาหารตามปกติ และสามารถดื่มได้จนกว่าจะหยุดอาเจียนหรือกลับมาถ่ายอุจจาระแบบเป็นก้อนแล้ว
  • รับประทานยาแก้ท้องเสีย โดยผู้ป่วยอาจใช้ยาแก้ท้องเสียภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องเสียควบคู่ไปกับการดื่มน้ำ และผงเกลือแร่ซึ่งเป็นการรักษาหลัก
  • เมื่ออาการดีขึ้นควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่ายและมีไขมันน้อย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนม แอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม อาหารไขมันสูง และอาหารรสจัด
  • งดดื่มนมขณะท้องเสีย

 

อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปเป็นภาวะไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง หากมีอาการรุนแรง ควรรีบมาพบแพทย์

Source: https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1892
Categories
บทความ

โรคอหิวาตกโรค

โรคอหิวาตกโรค

ลักษณะโรค

เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน เริ่มด้วยอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่มีอาการปวดท้อง บางรายอุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สำหรับเชื้อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง(อหิวาตกโรค) ชนิด El Tor biotype ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ในรายรุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ พบได้บ่อยในเด็ก ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจตายในเวลา 2-3 ชั่วโมง และอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50 แต่ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที อัตราป่วยตายจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1

การวินิจฉัยโรค

ใช้วิธีการเพาะเชื้อจากอุจจาระหรือดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด darkfield หรือ phase contrast จะเห็นลักษณะการเคลื่อนที่แบบเฉพาะของเชื้อ Vibrio ซึ่งจะถูกยับยั้งด้วย antiserum จำเพาะ ในพื้นที่ที่เกิดการติดเชื้อใหม่ๆ การแยกเชื้อต้องยืนยันด้วยการทดสอบทางชีวเคมีเบื้องต้น ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบดูด้วยว่าเชื้อโรคผลิตสารพิษด้วยหรือไม่ ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตโรคประจำถิ่น เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ต้องสงสัยรายแรกๆ ต้องยืนยันโดยการทดสอบทางชีวเคมีและซีโรโลยี่ที่เหมาะสมและสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้นด้วย

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อ Vibrio cholerae serogroup O(โอ)1 ซึ่งมี 2 biotypes คือ classical และ El Tor แต่ละ biotype แบ่งออกได้เป็น 3 serotypes คือ Inaba, Ogawa และ Hikojima เชื้อเหล่านี้จะสร้างสารพิษเรียกว่า Cholera toxin ทำให้เกิดอาการป่วยคล้ายกัน ปัจจุบันพบว่าการระบาดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ biotype El Tor เป็นหลักแทบไม่พบ biotype classical เลย ในปี พ.ศ. 2535-2536 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในอินเดียและบังคลาเทศสาเหตุเกิดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่คือ Vibrio cholerae O139 โดยที่ครั้งแรกตรวจพบสาเหตุการระบาดจากเชื้อ V. cholerae non O1 ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับ V. cholerae antiserun O2-O138 ซึ่งปรกติกลไกก่อโรคจากเชื้อกลุ่มนี้มิได้เกิดจาก Cholera toxin สายพันธุ์ใหม่ที่พบสามารถสร้าง Cholera toxin ได้เหมือน Vibrio cholerae O1 ต่างกันที่โครงสร้าง Lipopolysaccharides (LPS) ที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของเชื้อ อาการทางคลินิกและลักษณะทางระบาดวิทยาเหมือนกับโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงทุกประการ ดังนั้นองค์การอนามัยโลกแนะนำให้รายงานว่าเป็นโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงด้วย สำหรับเชื้อ V. cholerae ในปัจจุบันมีถึง 194 serogroups การรายงานเชื้อที่ไม่ใช่ทั้ง O1 และ O139 ให้เรียกว่าเป็น V. cholerae non O1/non O139 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดอาการกระเพาะและลำไส้อักเสบ เชื้อ V. cholerae non O1/non O139 บาง serotypes อาจผลิต cholera toxin ก่อให้เกิดอาการคล้ายโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงได้ จึงจำเป็นต้องตรวจการสร้างสารพิษชนิดนี้ด้วยเพื่อป้องกันการระบาดใหญ่

วิธีติดต่อ

ติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อที่มีชีวิตปนอยู่ เชื้อ El Tor สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน การรับประทานอาหารทะเลดิบ หรืออาหารดิบๆสุกๆ เป็นสาเหตุของการระบาดทั่วไป การติดต่อระหว่างบุคคลสู่บุคคลโดยตรง พบได้น้อยมาก

ระยะฟักตัว

ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ไปจนถึง 5 วัน เฉลี่ยประมาณ 2-3 วัน

ระยะติดต่อ

ตลอดระยะเวลาที่ตรวจพบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งปกติจะพบเชื้อได้อีก 2-3 วัน หลังจากผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว แต่บางรายอาจกลายเป็นพาหะต่อไปได้อีกหลายเดือน การให้ยาปฏิชีวนะ เช่น tetracycline จะช่วยลดระยะเวลาการแพร่เชื้อ ในผู้ใหญ่พบว่าการติดเชื้อเรื้อรังที่ทางเดินน้ำดี อาจเป็นได้นานเป็นปี และร่วมกับมีการปล่อยเชื้อ Vibrio ออกมากับอุจจาระเป็น ระยะได้

Cr. https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=74

Categories
บทความ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคบิด พร้อมสาเหตุและวิธีการป้องกัน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคบิด พร้อมสาเหตุและวิธีการป้องกัน

มาเรียนรู้สาเหตุของโรคบิด อาการเบื้องต้น และวิธีการป้องกันโรคบิดทั้งขณะพำนักในที่พักอาศัยหรือขณะเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงการท้องเสียชนิดรุนแรง อันดับแรกมาทำความรู้จักกันก่อนเลยว่าโรคบิดคืออะไร บทความนี้จะช่วยคลายข้อสงสัยสำหรับคนที่กังวลว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นใช่อาการของโรคบิดหรือไม่และเหมาะสำหรับคนที่อยากดูแลสุขภาพของตัวเองให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

โรคบิดคือโรคอะไร

โรคบิดคือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้ออะมีบาในลำไส้ซึ่งก่อให้เกิดอาการท้องเสียชนิดมีเลือดหรือมูกปน การแพร่กระจายของโรคบิดมักเกิดจากสุขอนามัยที่ไม่ดีโดยผู้ป่วยมักได้รับเชื้อ จากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน โรคบิดมีอาการที่พบทั่วไป คือ : 

  • ท้องเสียโดยมีเลือดหรือมูกร่วมด้วย
  • ช่องท้องบีบเกร็ง จนทนไม่ได้
  • รู้สึกคลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดท้องบิด
  • มีไข้สูง

โรคบิดเกิดจากอะไร

โรคบิดเกิดจากการมีสุขอนามัยที่ไม่ดีและรับประทานอาหารปนเปื้อน โดยทางการแพทย์ได้จำแนกโรคบิดไว้ 2 ชนิดคือ

1.โรคบิดชนิดไม่มีตัว (shigellosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย shigella ในอุจจาระซี่งมักพบในประเทศที่มีสุขอนามัยไม่ดี

2.โรคบิดที่เกิดจากอะมีบา (amoebiasis) เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่มีชื่อว่า Entamoeba histolytica 

ที่มักพบในเขตร้อน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เผชิญกับโรคบิดที่เกิดจากอะมีบามักมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยโรคบิดชนิดไม่มีตัว

วิธีรักษาโรคบิด

วิธีการรักษาโรคบิด มีดังนี้ 

วิธีรักษาโรคบิดชนิดไม่มีตัว (shigellosis) 

ถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้มีอาการุนแรงและพื้นฐานเป็นคนที่มีสุขภาพดี ไม่ได้มีโรคร้ายแรงหรือเป็นผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่การรักษาโรคบิดเบื้องต้นจะรักษาภาวะการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายที่มาจากการท้องเสีย และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาท้องเสีย หรือสามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชร่วมด้วย และถ้าหากมีอาหารปวดท้องบิดเกร็ง เป็นพัก ๆ มีวิธีแก้ด้วยการนอนพัก ถ้าหากนอนพักแล้วยังไม่หาย สามารถเข้าไปพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาได้ทันที 

โรคบิดที่เกิดจากอะมีบา (amoebiasis)

สำหรับกรณีโรคบิดที่เกิดจากอะมีบาหรือโรคบิดชนิดมีตัว แพทย์จะเน้นไปที่เน้นที่การใช้ยาเป็นหลักเพื่อรักษาเชื้อแบคทีเรีย และสำหรับอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วม แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ จนกว่าอาการของผู้ป่วยโรคบิดชนิดมีตัวจะดีขึ้น ไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าโรคบิดกี่วันหาย ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคบิด 

ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลหรือได้รับเชื้ออะมีบาดำเนินเข้าสู่ร่างกาย มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีลักษณะดังนี้

  • ผู้ที่เดินทางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดี เช่น พื้นที่ห่างไกลน้ำสะอาด
  • ผู้ที่อพยพมาจากพื้นที่ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เนื่องจากทวารหนักเป็นแหล่งรวมเชื้อโรค
  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการจัดการสุขอนามัยไม่ดี เช่น ชุมชนแออัดหรือเรือนจำ
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรืออายุมาก

วิธีป้องกันให้ห่างไกลจากโรคบิด

มาดูวิธีการป้องกันโรคบิดง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ คือการเลือกรับประทานอาหาร หรือถ้าหากใครมีอาการปวดท้องบิดเกร็ง เป็นพัก ๆ มีวิธีแก้ดังนี้ 

  • ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนการประกอบหรือรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ เพราะเชื้อโรคอาศัยอยู่ในห้องน้ำเป็นจำนวนมาก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ห้ามใช้ผ้าขนหนู เครื่องนอน จานชามช้อนส้อมร่วมกับผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากก๊อกน้ำในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ควรต้มน้ำหรือฆ่าเชื้อก่อนดื่มน้ำทุกครั้งหรืออาจเลือกดื่มน้ำบรรจุขวดเพื่อความปลอดภัย
  • ระมัดระวังอาหารที่รับประทานหากอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะไม่สามารถมั่นใจได้ว่าอาหารที่ถูกปรุงนั้นสะอาดหรือไม่ นอกจากนี้ร่างกายอาจจะยังไม่สามารถปรับตัวได้ทันทีเมื่อรับประทานอาหารต่างถิ่น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้หรือผักดิบ เว้นแต่เป็นผลไม้ที่ต้องปอกก่อนการรับประทาน เช่น กล้วย 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มนมหรือรับประทานอาหารที่ผลิตจากนม เว้นแต่จะเป็นนมที่ผลิตโดยกรรมวิธีที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารข้างถนนเนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะมั่นใจได้ถึงความสะอาดในการเตรียมและประกอบอาหาร
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเติมน้ำแข็งในเครื่องดื่มเพราะน้ำแข็งอาจผลิตจากน้ำก๊อก ทั้งนี้เว้นแต่คุณจะทราบที่มาของน้ำที่ใช้ผลิตน้ำแข็ง

โรคบิดเป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่มีใครอยากเผชิญกับความเจ็บปวดและความทรมาน ดังนั้นถ้าไม่อยากเผชิญกับอาการต่าง ๆ ของโรคบิด ควรให้ความสำคัญในประโยชน์ของการล้างมือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ติดเชื้อ การเลือกรับประทานอาหารให้ดี โดยเฉพาะอาหารข้างถนนหรืออาหารปรุงดิบและกึ่งดิบ หมั่นดูแลสุขอนามัยโดยรวมอย่างสม่ำเสมอ และรีบพบแพทย์ทันทีหากมีอาการรุนแรงมากขึ้น 

Cr. https://www.dettolthailand.com/common-infections/germs-bacteria-viruses/dysyntery/

Categories
บทความ

ไวรัสตับอักเสบเอและบี ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โรคฮีทสโตรก…อันตรายถึงชีวิต

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบนอกจากจะส่งผลให้ตับไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติแล้ว หากปล่อยไว้จนตับอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคตับแข็ง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้
  • ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ สามารถติดต่อได้ผ่านการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อไวรัสหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลให้ตับวาย
  • การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นการป้องกันโรคที่ได้ผลเกือบ 100% และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต

โรคไวรัสตับอักเสบ คืออะไร

โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของตับ  จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี  โดยไวรัสทั้งหมดมีการติดต่อแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ  การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบนอกจากจะส่งผลให้ตับเสียหาย ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติแล้ว  หากปล่อยไว้จนตับอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคตับแข็ง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้

ไวรัสตับอักเสบเอ

ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A)  เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A virus; HAV) สามารถติดต่อได้จากการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม หรือสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อไวรัส  โดยเชื้อจะเข้าฝังตัวในลำไส้ แล้วค่อยๆ กระจายไปสู่ตับ จนเกิดการอักเสบของตับหลังจากได้รับเชื้อราว 1-2 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดภาวะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และดีซ่าน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลให้ตับวาย และเสียชีวิตได้

สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือฉีดวัคซีนป้องกันก็จะสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้เช่นกัน

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ

การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นการป้องกันโรค ที่ได้ผลเกือบ 100%  และภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอจะอยู่ติดตัวไปได้ตลอด  สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มพาลูกๆ ออกไปมีกิจกรรมนอกบ้าน หรือเริ่มเข้าโรงเรียน   อาจได้รับเชื้อจากการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสัมผัสกับเชื้อได้ง่าย โดยฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน  สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ สามารถรับการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน โดยสามารถขอคำแนะนำหรือปรึกษาแพทย์

ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ

 
ผู้ที่จะเดินทางไปยังสถานที่ ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งควรได้รับการฉีดวัคซีนก่อนเดินทางประมาณ 1 เดือน
  • ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ
  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ทั้งจากคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือผู้ที่ทำงานในบ่อบำบัดน้ำเสีย
  • ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน
  • ผู้ที่ใช้ยาเสพติดทุกประเภท
  • ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรัง
  • บุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการ
  • พ่อครัว แม่ครัวที่ต้องปรุงอาหารเป็นประจำ

ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)  มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B virus; HBV)  ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตรายอย่างยิ่ง  หากได้รับเชื้อแล้วไม่ได้รับรักษา อาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง  ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยสามารถติดต่อผ่านทางการคลอด การสัมผัสเลือดหรือแผลเปิดของผู้ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ และการใช้อุปกรณ์ที่แหลมคมหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น  เข็มฉีดยา มีดโกนหนวด หรือแปรงสีฟัน

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

อาจเรียกได้ว่าเป็นวัคซีนป้องกันมะเร็งชนิดแรก เนื่องจากสามารถช่วยป้องกันมะเร็งตับ อันเกิดต่อเนื่องจากภาวะไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับถึง 80%  และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับสองของโรคมะเร็งทั้งหมด

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี  ประกอบด้วยโปรตีนจากผิวของไวรัส (HBsAg)  ซึ่งไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่จะไปกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย  สามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด โดยฉีดเหมือนกับผู้ใหญ่ ทั้งหมด 3 เข็ม  หลังจากฉีดเข็มแรกแล้ว 1 เดือนจึงฉีดเข็มที่ 2 และฉีดเข็มที่ 3  หลังจากฉีดเข็มที่ 2 แล้ว 5 เดือน 

เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี  ครบ 3 เข็ม ส่วนใหญ่พบว่าร่างกายสร้างภูมิคุมกันได้มากถึง  97%  และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต  อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ประมาณ 1-2 เดือน  ควรเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ามีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี หากยังไม่มีภูมิต้านทาน  ควรฉีดวัคซีนเพิ่มตามคำแนะนำของแพทย์

ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

  • ทารกแรกเกิด เด็ก และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
  • ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
  • ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อยๆ
  • ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น รักร่วมเพศ มีคู่นอนหลายคน

เนื่องจากไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดเกิดจากเชื้อไวรัสแตกต่างกัน   การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบแต่ละสายพันธุ์จะสามารถป้องกันเฉพาะไวรัสสายพันธุ์ที่ฉีดเท่านั้น ดังนั้นหากจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดใดควรเจาะจงชนิดของวัคซีนให้ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ และวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีรวมในเข็มเดียวกัน โดยสามารถสอบถามรายละเอียดจากแพทย์หรือโรงพยาบาลที่ต้องการเข้ารับการฉีดวัคซีน

Cr. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ไวรัสตับอักเสบเอและบี

Categories
บทความ

โรคฮีทสโตรก…อันตรายถึงชีวิต !

โรคฮีทสโตรก…อันตรายถึงชีวิต

มาทำความรู้จักกับโรคลมแดดหรือโรคลมแดด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป มักเป็นผลมาจากการสัมผัสหรือออกแรงทางกายภาพเป็นเวลานานในอุณหภูมิสูง ฮีตสโตรกสามารถเกิดขึ้นได้หากอุณหภูมิของร่างกายสูงถึง 40 ‘C (104’ F) หรือสูงกว่า ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาการป่วยจากความร้อนที่ร้ายแรงที่สุด อาการนี้มักเกิดในช่วงที่อากาศร้อนหรืออากาศชื้น

ฮีตสโตรกจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาจะสามารถทำลายอวัยวะต่างๆ ได้ทันที รวมถึงสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาล่าช้า ความเสียหายจะรุนแรงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ทุพพลภาพในระยะยาว หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้

สาเหตุของอาการฮีทสโตรก

ฮีทสโตรกแบ่งตามสาเหตุได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ

โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (classical heatstroke or non-exertional heatstroke: NEHS) 

การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น โรคลมแดดแบบคลาสสิกหรือแบบไม่ต้องออกแรงมักเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสกับสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเวลานาน

ฮีทสโตรกจากภายนอก

โรคลมแดดที่เกิดจากการออกแรงนั้นเกิดจากกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากหรือการออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายเพิ่มขึ้น

แม้ว่าใครก็ตามที่ออกกำลังกายหรือทำงานในสภาพอากาศร้อนสามารถเป็นโรคลมแดดได้ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาได้หากคน ๆ หนึ่งไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน นอกจากนี้ โรคลมแดดยังเกิดขึ้นได้จากการสวมเสื้อผ้าที่หนาเกินไปซึ่งป้องกันเหงื่อไม่ให้ระเหยได้ง่าย และการดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงภาวะขาดน้ำจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอเพื่อเติมของเหลวที่สูญเสียไปจากการขับเหงื่อ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด

  • อายุ ในเด็กหรือผู้สูงอายุความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายจะลดลง นอกจากนี้ ทั้งสองกลุ่มอายุมักจะมีปัญหาในการคงความชุ่มชื้น
  • โรคประจำตัวบางอย่าง: โรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคหัวใจและโรคปอด ตลอดจนโรคอ้วนและการไม่ออกกำลังกายอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นลมแดด
  • ยาบางชนิด ส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการรักษาความชุ่มชื้นและตอบสนองต่อความร้อนอย่างเหมาะสม ยาเหล่านี้รวมถึงยาขยายหลอดเลือด  ยาขับปัสสาวะ และยาทางจิตเวช เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคจิต และยากระตุ้นจิต สารกระตุ้นที่ผิดกฎหมาย เช่น แอมเฟตามีนและโคเคนยังทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อโรคลมแดดอีกด้วย
  • การสัมผัสกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดอย่าง
  • อุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างกะทันหัน ผู้คนจะเป็นโรคลมแดดได้ง่ายขึ้นหากพวกเขาสัมผัสกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน เช่น ในช่วงต้นฤดูร้อน คลื่นความร้อน หรือเมื่อพวกเขาเดินทางไปยังที่ที่มีอากาศร้อนจัด อันเนื่องมาจากโรคลมแดด

สัญญาณและอาการฮีทสโตรก

  • อุณหภูมิร่างกายหลัก 40 ‘C หรือสูงกว่า
  • สภาวะทางจิตหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น สับสน กระสับกระส่าย หงุดหงิด เพ้อ ชัก และโคม่า
  • หายใจเร็วและหัวใจเต้นเร็ว
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ผิวหนังแดงร้อนและแห้ง อย่างไรก็ตาม ในอาการฮีทสโตรกที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนัก ผิวหนังอาจรู้สึกชื้นเล็กน้อย

การวินิจฉัยฮีทสโตรก

ในการวินิจฉัยฮีทสโตรกจำเป็นต้องได้รับประวัติทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสความร้อนรวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดฮีทสโตรก นอกจากการตรวจร่างกายและการวัดอุณหภูมิร่างกายแล้ว การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการใช้รังสีวินิจฉัยอาจใช้เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย แยกแยะสาเหตุที่เป็นไปได้อื่นๆ และประเมินความเสียหายของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
หากบุคคลนั้นอาจมีอาการฮีทสโตรก ขอแนะนำให้ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันทีจากบริการฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด
ในผู้ป่วยที่มีภาวะทางระบบประสาทอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคลมบ้าหมู อาการเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นหลังจากสัมผัสกับอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน

การรักษาฮีทสโตรก

การปฐมพยาบาลเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทันทีเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ที่ร้อนจัดขณะรอการรักษาฉุกเฉิน

  • ให้ผู้ป่วอยู่ในที่ร่มหรือในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศ
  • ถอดเสื้อผ้าส่วนเกินหรือคับออก
  • ทำให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิเย็นลงด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น วางถุงน้ำแข็งหรือผ้าเย็นที่เปียกบนศีรษะ คอ รักแร้ และขาหนีบ วางผู้ป่วยในอ่างน้ำเย็นหรือฝักบัวเย็น แล้วฉีดน้ำขณะรอรถพยาบาล

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องจำไว้ในขณะที่ให้ความช่วยเหลือในการปฐมพยาบาลคือ บุคคลที่ร้อนเกินไปจะต้องงดเว้นจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงความสามารถของร่างกายในการควบคุมอุณหภูมิแกนกลาง นอกจากนี้ ต้องหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเย็น ๆ เพราะอาจทำให้เส้นเลือดและกระเพาะอาหารตีบตัน ทำให้เกิดตะคริวที่ท้องได้

ภาวะแทรกซ้อนจากฮีทสโตรก

หากไม่รักษาฮีทสโตรกอย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นกับอุณหภูมิร่างกายที่สูงเป็นเวลานาน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันที โรคลมแดดอาจถึงแก่ชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่

  • สมอง ชัก สมองบวม และเซลล์ประสาทถูกทำลายอย่างถาวร
  • กล้ามเนื้อ การสลายของกล้ามเนื้อโครงร่าง (rhabdomyolysis)
  • ไต การบาดเจ็บของไตเฉียบพลันที่เกิดจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างที่ปล่อยสารเข้าสู่กระแสเลือด
  • ตับ ความผิดปกติของตับเฉียบพลันที่เกิดจากการขาดน้ำและเลือดไปเลี้ยงตับน้อยลง
  • หัวใจ: ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากหัวใจทำงานหนักเกินไป
  • ปอด ภาวะปอดร้ายแรงที่ทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ (กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน)
  • ระบบการแข็งตัวของเลือด ภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือลิ่มเลือดอุดตันในร่างกาย

การป้องกัน

เพื่อป้องกันโรคลมแดด แนะนำให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. สวมเสื้อผ้าที่หลวมหรือบางเมื่อสัมผัสกับความร้อนหรือบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  2. ป้องกันผิวไหม้แดดด้วยการสวมหมวกปีก แว่นกันแดด และทาครีมกันแดดที่มีค่ากันแดดอย่างน้อย SPF15
  3. จิบดื่มน้ำบ่อยๆ และให้เพียงพอเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้ปกติ
  4. ปรึกษาแพทย์ประจำตัว เพราะยารักษาโรคบางชนิดที่ส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการควบคุมอุณหภูมิความร้อน
  5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก งดออกกำลังกายอย่างหนักในบริเวณที่ร้อน ชื้น หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ใช้เวลาให้น้อยที่สุด

Cr. https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/neuroscience-th/heat-stroke/

Categories
บทความ

ภาวะปวดข้อต่ออุ้งเชิงกรานในวัยทำงาน

ภาวะปวดข้อต่ออุ้งเชิงกรานในวัยทำงาน

คนวัยทำงานในปัจจุบันมักทำงานอยู่ในท่านั่ง นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือนั่งประชุมติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะใน 2-3 ปีที่ผ่านมาในสถานการณ์โรคระบาด ทำให้หนุ่มสาวออฟฟิศส่วนใหญ่ต้องทำงาน work from home อยู่ที่บ้าน ยิ่งทำให้ต้องนั่งติดต่อกันนาน ไม่ได้ลุกขึ้นยืน หรือเปลี่ยนท่าทางตลอดทั้งวัน ยิ่งไปกว่านั้นหากบ้านใดไม่มีโต๊ะทำงาน หรือเก้าอี้ทำงานที่ถูกหลักการยศาสตร์ (ergonomics) ทำให้จำเป็นต้องนั่งพื้น, นั่งทำงานที่โต๊ะญี่ปุ่น, กึ่งนั่งกึ่งนอนพิงหัวเตียงในการทำงาน ซึ่งท่าทางเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายตามมา เช่น ภาวะปวดคอบ่า ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome), ภาวะปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) และอาจส่งผลทำให้กระดูกบริเวณก้นกบ (coccyx), กระเบนเหน็บ (sacrum) หรือเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกราน (pelvic girdle) บาดเจ็บได้ เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะปวดข้อต่ออุ้งเชิงกราน (sacroiliac joint dysfunction) (1)

ภาวะปวดข้อต่ออุ้งเชิงกราน (sacroiliac joint dysfunction หรือ SI joint pain) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของข้อต่อบริเวณเชิงกราน ซึ่งเป็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacrum) และกระดูกเชิงกราน (ilium) ดังรูปที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักตัว (body absorption) ที่จะส่งผ่านแรงจากลำตัวส่วนบน (upper body parts) ต่อไปยังเชิงกราน และรยางค์ส่วนล่าง (lower limbs) ซึ่งระหว่างข้อต่อจะมีเอ็นเชื่อมระหว่างกระดูกทั้งสองที่ช่วยส่งผ่านแรงต่าง ๆ เรียกว่า เอ็นก้นกบ (sacrotuberous ligament) แรงที่ข้อต่อสามารถรองรับได้ เช่น แรงเฉือน (shearing), แรงบิด (torsion), แรงหมุน (rotation) และแรงดึง (tension) ซึ่งหากมีแรงกระทำที่มากเกินไป, การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือการวางตัวของแนวกระดูกผิดไปจากเดิม, การเสื่อมของข้อต่อ (osteoarthritis), ข้อต่อหลวม (joint laxity), เส้นเอ็นที่ยึดข้อเชิงกรานอักเสบ (sacroiliitis) หรือการยึดรั้งข้อต่อ (joint stiffness) จนทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูกจนเจ็บปวดขึ้นในขณะเคลื่อนไหวได้ อาการปวดอุ้งเชิงกรานที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่

– อาการปวดที่บริเวณอุ้งเชิงกราน หรือบริเวณสะโพก มักจะเกิดอาการปวดขณะนั่ง, เดินลงน้ำหนักข้างที่ปวด, นอนตะแคงทับข้างที่ปวด, ขณะเดินขึ้นลงบันได หรือขณะที่เปลี่ยนท่าทาง เช่น เปลี่ยนจากท่านั่งลุกขึ้นยืน, นอนพลิกตะแคงตัว

– อาการมักเกิดขึ้นได้ในลักษณะของอาการปวดแหลม (sharp pain), ปวดคล้ายเข็มเสียดแทง (stabbing pain) หรืออาการปวดร้าว (shooting pain) ซึ่งอาจปวดร้าวลงไปที่บริเวณก้นย้อย, ขา หรือปลายเท้าข้างที่มีอาการ โดยเฉพาะบริเวณต้นขาด้านหลัง

– อาการชา (numbness) ร้าวลงขาที่เกิดจากเส้นประสาทไซอาติก (sciatic nerve) โดนกดเบียดบริเวณข้อต่ออุ้งเชิงกราน ซึ่งมีอาการชาคล้ายกับโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (disc herniation) จนทำให้เกิดการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้ หากอาการกดเบียดเส้นประสาทเกิดขึ้นเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง (weakness) หรือปวดเมื่อย (fatique) ตามแขนขาได้บ่อยขึ้น (1-3)

รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งของกระดูกส่วนต่าง ๆ ของบริเวณข้อต่ออุ้งเชิงกราน

การรักษาทางกายภาพบำบัดในภาวะปวดข้อต่ออุ้งเชิงกรานมีวัตถุประสงค์ตั้งแต่ การดูแลภาวะอักเสบขณะเกิดอาการปวดขึ้นเฉียบพลัน (acute pain) โดยใช้แผ่นประคบเย็น (cold pack) หรือร่วมกับการใช้ยาลดการอักเสบ (anti-inflammatory medication) จากคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ ในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อต่อเชิงกรานยึดรั้ง การรักษาด้วยวิธีช่วยขยับข้อต่อ (mobilization) จากนักกายภาพบำบัด จะทำให้ข้อต่อเชิงกรานเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (lumbar core stabilizer muscle) และกล้ามเนื้อสะโพก (gluteal muscle) จะทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ช่วยกระชับข้อต่อ, ลดแรงกระทำต่อข้อต่อที่มากเกินไป และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับข้อต่อสำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ ในขีวิตประจำวัน เช่น การเดิน, การลุกขึ้นยืน-ลงนั่งเก้าอี้ หรือการเดินขึ้นลงบันได

 

Cr. https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=2804

Categories
บทความ

อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ และเส้นเอ็น อาการปวดอาจเกิดขึ้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือทั่วร่างกาย อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเฉียบพลันอาจเป็นผลมาจากการได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลัน ส่วนอาการปวดเรื้อรังอาจเกิดจากภาวะเสื่อมถอยของร้างกาย โรคข้ออักเสบ หรือโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia) หากอาการปวดรบกวนการใช้ชีวิตประจําวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ประเภทของอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

  • อาการปวดกล้ามเนื้อ: เช่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว หดเกร็ง กระตุก บาดเจ็บ ติดเชื้อ หรือมีเนื้องอก
  • อาการปวดกระดูก: เนื่องจากกระดูกแตก ได้รับบาดเจ็บ  หรือเนื้องอกกระดูก ซึ่งอาจทําให้ปวดกระดูกได้เช่นกันแต่พบได้น้อย
  • อาการปวดข้อ: จากการข้ออักเสบ ข้อติด หรือติดเชื้อในข้อ  
  • อาการปวดเอ็นยึดกระดูกและเอ็นกล้ามเนื้อ: เนื่องจากการฉีกขาด เคล็ดขัดยอก หรือการใช้งานที่หนักเกินไป

สาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก
อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกอาจเป็นผลมาจากท่าทางของร่างกายที่ไม่เหมาะสม กล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอก การใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ กระดูกหัก หรือข้อต่อโดนกระแทกจนข้อต่อหลุด เป็นต้น

อาการของการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

อาการของการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค โดยผู้ป่วยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นมากขึ้นเวลาขยับร่างกายส่วนนั้น ๆ
  • ตึงยึดของแขน ขา หรือลำตัว รวมถึงอาจมีกล้ามเนื้อกระตุก
  • รู้สึกกล้ามเนื้อเมื่อยล้าในช่วงกลางวัน หรือมีนอนหลับได้ยากในช่วงกลางคืน

การตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการปวด และอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้ ร่วมด้วยหรือไม่  อะไรที่บรรเทาหรือทำให้อาการแย่ลง ร่วมกับประวัติการรักษาก่อนหน้า รวมถึงโรคประจำตัว  แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อระบุสาเหตุของอาการและอาจสั่งให้ทำการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เอกซ์เรย์ การตรวจวินิฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือตรวจเลือดเพิ่มเติม

การรักษา

เมื่อระบุสาเหตุของอาการปวดได้แล้ว แพทย์จะวางแผนการรักษาซึ่งท่านจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเลือกและตัดสินใจ หากอาการปวดนั้นสามารถรักษาได้ด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด ( หรือท่านไม่ต้องการผ่าตัด) แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวด ฉีดยาสเตียรอยด์  ปักเข็มคลายกล้ามเนื้อ ฝังเข็ม หรือให้ท่านใส่อุปกรณ์พยุงร่างกายในส่วนที่มีอาการเจ็บ และแพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบําบัด กิจกรรมบําบัด ทำกายอุปกรณ์จัดกระดูก หรือนวดบําบัดทางการแพทย์

เมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ท่านควรปฎิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การบำบัดรักษาร่วมด้วย เช่น การรับประทานยา การปรับวิธีการทำงานในชีวิตประจำวันให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม   โดยเฉพาะในวันที่อาการปวดเป็นเฉียบพลัน หรือเป็นมากขึ้น ให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมและอักเสบ งดใช้งานกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อที่ได้รับบาดเจ็บ  ต่อมาเมื่ออาการปวดเริ่มทุเลาให้เปลี่ยนเป็นประคบอุ่นและค่อยๆยืดเหยียด และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของส่วนที่ปวดไปที่ละน้อยๆทุกวัน  โดยทำในแบบที่ไม่ทำให้เกิดการปวดเพิ่มขึ้น

หากท่านสูบบุหรี่ ควรงดสูบบุหรี่เพราะบุหรี่จะทำให้เกิดอาการอักเสบมากขึ้นได้

การป้องกัน

  • หมั่นออกกําลังกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจําเพื่อให้กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการทำท่าทางซ้ำ ๆ เป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการใช้งานกล้ามเนื้อและข้อต่อมากเกินไป
  • เรียนรู้เรื่อง การยศาสตร์ เช่น วิธียกของหนักที่ถูกต้อง, การเลือกโต๊ะเก้าอี้และท่าทางที่ถูกต้องในการทำงานคอมพิวเตอร์ และนำไปปรับใช้เพื่อให้มีท่าทางที่ถูกต้องเหมาะสมได้ตลอดวัน

บทความโดย
พญ.เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

Cr. https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/musculoskeletal-pain