โรคฉี่หนู วิธีการรักษาเบื้องต้น

โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์สู่คน เชื้อก่อโรคจะปนออกมากับฉี่ของสัตว์ต่างๆ โดยหนูจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด จึงเรียกว่า โรคฉี่หนู แต่อย่างไรก็ตามสัตว์อื่นๆ อย่างเช่น สุนัข วัว ควาย ก็สามารถมีเชื้อ และ แพร่เชื้อมาสู่คนได้เช่นเดียวกัน (เชื้อนี้ไม่ทำให้สัตว์มีอาการป่วย) โดยเชื้อจะถูกขับออกมากับฉี่ของสัตว์เหล่านี้มาอยู่ในดินที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมขัง หรือตามสวนไร่นาที่มีน้ำขัง และเชื้อก็จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้นานเป็นเดือน เมื่อคนย่ำน้ำที่มีเชื้อฉี่หนูอยู่ เชื้อก็จะไชเข้าสู่ผิวหนังและทำให้คนป่วยได้

 

อาการของโรค

โรคฉี่หนู จะแสดงอาการภายในเวลาประมาณ 10 วันหลังได้รับเชื้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการ จะมีอาการที่ไม่รุนแรง และ มักหายเองได้ภายในเวลา 5 – 7 วัน คือ

  • มีไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ หรือ ข้อต่อต่างๆ โดยมักปวดมากบริเวณน่องขา
  • ตาแดง
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว แต่มีผู้ป่วยราว 5-10% ที่อาการเหมือนจะดีขึ้น และ หายดีประมาณ 1-3 วัน หลังจากนั้นกลับทรุดลง เนื่องจากมีการพัฒนาของโรคไปสู่โรคฉี่หนูแบบรุนแรง ทำให้ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล โดยจะมีอาการเหล่านี้เกิดร่วมมากับไข้ ได้แก่
  • ตัวตาเหลือง
  • มือบวม เท้าบวม
  • เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย หรือไอปนเลือด
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้ใจสั่นหน้ามืด
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้ปวดศีรษะมากหรือชักได้
  • ปัสสาวะออกน้อยลง จากภาวะไตวายเฉียบพลัน
 

แนวทางการดูแลรักษา

ส่วนมากโรคฉี่หนูมักไม่มีอาการรุนแรงและหายดีได้เอง แต่การรักษาโดยการให้ยาฆ่าเชื้อ ก็จะช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น ป้องกันการเกิดอาการฉี่หนูแบบรุนแรง และ ป้องกันการกลับไปติดเชื้อซ้ำได้

ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ ยากลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบบฉีด หรือ ดอกซีไซคลิน (Doxycycline) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบบกิน ระยะเวลาในการรักษา คือ 5-7 วัน ผู้ป่วยต้องรับประทานยา หรือฉีดยาตามกำหนดให้ครบถ้วนแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดจนหมดยาแก้ปวด อย่างไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ พาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคฉี่หนูแบบรุนแรง จะต้องนอกรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือและฉีดยาฆ่าเชื้อต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจออกจากโรงพยาบาลได้ภายในไม่กี่วัน แต่บางรายอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย และความเสียหายต่ออวัยวะภายในด้วย

  • ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ ยากลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบบฉีด หรือ ดอกซีไซคลิน (Doxycycline) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบบกิน ระยะเวลาในการรักษา คือ 5-7 วัน ผู้ป่วยต้องรับประทานยา หรือฉีดยาตามกำหนดให้ครบถ้วนแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดจนหมด
  • ยาแก้ปวด อย่างไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ พาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคฉี่หนูแบบรุนแรง จะต้องนอกรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือและฉีดยาฆ่าเชื้อต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจออกจากโรงพยาบาลได้ภายในไม่กี่วัน แต่บางรายอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย และความเสียหายต่ออวัยวะภายในด้วย