Categories
บทความ

โรคไอกรน (Pertussis)

โรคไอกรน (Pertussis)

โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ  ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจและเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้งหรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน

สาเหตุ

              เกิดจากเชื้อแบคทีเรียBordetella pertussis (B. pertussis) เป็นเชื้อที่เพาะขึ้นใน Bordet Gengau media ซึ่งเป็นเชื้อที่เพาะขึ้นได้ยาก จะพบเชื้อได้ในลำคอ ในส่วนnasopharynxของผู้ป่วยในระยะ 1-2 อาทิตย์แรก ก่อนมีอาการไอเป็นแบบ paroxysmal

ระบาดวิทยา


              ไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรงผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อและเกิดโรคเกือบทุกรายโรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัวซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (carrier) หรือมีอาการไม่มากโรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก ทั้งนี้เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมากในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูงส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้เป็นได้ทุกอายุถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในวัยหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการหรือไม่มีอาการแบบไอกรน  ส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน

              ในประเทศไทย อุบัติการณ์ของโรคไอกรนลดลงมากซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรนบาดทะยัก อย่างไรก็ดียังพบโรคนี้ได้ประปรายในชนบท และพบในเด็กอายุเกิน 5 ปี มากขึ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนพบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นประถม

              ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6-20 วัน ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการแสดงว่าไม่ติดโรค

อาการและอาการแสดง


อาการของโรคแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

              1)  ระยะแรกเด็กจะเริ่มมีอาการ มีน้ำมูก และไอ เหมือนอาการเริ่มแรกของโรคหวัดธรรมดาอาจมีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล ระยะนี้เรียกว่า Catarrhal stage จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ระยะนี้ส่วนใหญ่ยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้งๆ

              2)Paroxysmal stage ระยะนี้มีอาการไอเป็นชุดๆ เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ไม่มีเสมหะจะเริ่มมีลักษณะของไอกรน คือ มี อาการไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้งตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง วู๊ป (whoop) ซึ่งเป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะมีหน้าตาแดง น้ำมูกน้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก เส้นเลือดที่คอโป่งพองการไอเป็นกลไกที่จะขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมาผู้ป่วยจึงจะไอติดต่อกันไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะสามารถขับเสมหะที่เหนียวออกมาได้บางครั้งเด็กอาจจะมีหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทันโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ อายุน้อยกว่า 6 เดือน จะพบอาการหน้าเขียวได้บ่อย และบางครั้งมีการหยุดหายใจร่วมด้วยอาการหน้าเขียวอาจจะเกิดจากเสมหะอุดทางเดินหายใจได้ส่วนใหญ่เด็กเล็กมักจะมีอาการอาเจียนตามหลังการไอเป็นชุดๆ ระยะไอเป็นชุดๆนี้จะเป็นอยู่นาน 2-4 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านี้ได้

              3) ระยะ ฟื้นตัว (Convalescent stage) กินเวลา 2-3 สัปดาห์ อาการไอเป็นชุดๆ จะค่อยๆลดลงทั้งความรุนแรงของการไอและจำนวนครั้ง แต่จะยังมีอาการไอหลายสัปดาห์ระยะของโรคทั้งหมดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์

โรคแทรกซ้อน

              1.  โรคแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย คือ ปอดอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญของโรคไอกรนในเด็กเล็กโรคในปอดที่อาจพบได้อีกจะเกิดจากการมีเสมหะเหนียวไปอุดในหลอดลมและถุงลม ทำให้เกิด atelectasis

              2.  จากการไอมากๆทำให้มีเลือดออกในเยื่อบุตา (Subconjunctival hemorrhage) มี petechiaeที่หน้าและในสมอง

              3.  ระบบประสาทอาจมีอาการชัก พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงสมองในขณะที่ไอถี่ๆและอาการชักอาจเกิดจากมีเลือดออกในสมอง

การวินิจฉัยโรค

              อาศัยอาการทางคลินิกที่มีลักษณะอาการไอเป็นชุดๆ มีเสียงวู๊ป ร่วมกับการตรวจเลือดพบมีเม็ดเลือดขาวสูงเกินปกติ และมี lymphocytosis แต่เนื่องจากอาการไอแบบนี้อาจเกิดจากเชื้อ B. parapertussis, Clamydia trachomatis และ adenoviruses การวินิจฉัยที่แน่นอนจึงต้องทำการเพาะเชื้อ B. pertussis จาก nasopharyngeal swab หรือดูดเอา nasopharyngeal mucus มาเพาะบน Bordet Gengau media ส่วนใหญ่จะตรวจพบเชื้อได้ในระยะ Catarrhal stage และในสัปดาห์แรกที่เริ่มมีอาการไอแบบ paroxysmal ภายหลังจากเริ่มมีอาการ 4 สัปดาห์  มักจะตรวจไม่พบเชื้อ

การรักษา

              เนื่องจากเชื้อ B. pertussis จะมีอยู่ในลำคอของผู้ป่วยในช่วงระยะแรก (Catarrhal stage) ดังนั้นถ้าให้ยาปฎิชีวนะที่ได้ผลเฉพาะคือ erythromycin ในขนาด 50 มก./กก./วันเป็นระยะเวลา 14 วัน ในระยะนี้จะช่วยให้ความรุนแรงของโรคลดลงได้แต่ถ้าพบผู้ป่วยระยะที่มีการไอเป็นชุดๆแล้วการให้ยาจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคได้แต่จะสามารถฆ่าเชื้อโรคที่อาจจะยังมีอยู่ให้หมดไปได้ในระยะ 3-4 วันเป็นการลดการแพร่กระจายของเชื้อได้

              การรักษาตามอาการให้เด็กได้พักผ่อน ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีหลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้เด็กไอมากขึ้น เช่น การออกแรง ฝุ่นละออง ควันไฟควันบุหรี่ อากาศที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป

การป้องกัน

การแยกผู้ป่วย

              ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย erythromycin เชื้อจะหมดไปภายใน 5 วัน ดังนั้น จึงแยกผู้ป่วย 5 วัน นับจากที่เริ่มให้ยา หรือแยกไว้ 3 สัปดาห์ หลังจากที่เริ่มมีอาการไอแบบ paroxysmal
ผู้สัมผัสโรคทุกคนควรได้รับการติดตามดูว่าจะมีอาการไอเกิดขึ้นหรือไม่อย่างใกล้ชิดโดยติดตามไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เด็กที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดควรได้รับ erythromycin (40-50 มก./กก./วัน) 14 วันถึงแม้จะได้รับวัคซีนป้องกันครบแล้วก็ตามทั้งนี้เพราะระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนอาจไม่สูงพอในเด็กบางคนผู้สัมผัสโรคที่อายุน้อยกว่า 6 ปี ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือได้ไม่ครบ 4 ครั้งควรจะเริ่มให้วัคซีนหรือเพิ่มให้ครบตามกำหนดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สัมผัสโรคที่เคยได้รับมาแล้ว 4 ครั้ง ให้กระตุ้นเพิ่มอีก 1 ครั้งยกเว้นเด็กที่เคยได้รับ booster มาแล้วภายใน 3 ปี หรือเป็นเด็กอายุเกิน 6 ปีไม่ต้องฉีดกระตุ้นเพิ่ม ส่วนผู้ที่เคยได้มาแล้ว 3 ครั้ง และครั้งที่ 3 เกิน 6 เดือนควรจะให้ dose ที่ 4 ทันทีที่สัมผัสโรค

การให้วัคซีนป้องกัน

        ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี การได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน 4-5 ครั้งนับเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไอกรนวัคซีนไอกรนที่มีใช้ขณะนี้เป็นวัคซีนที่เตรียมจากแบคทีเรีย B. pertussis ที่ตายแล้ว (Whole cell vaccine) รวมกับ diphtheria และ tetanus toxoids (Triple vaccine, DTP) ให้ฉีดเข้ากล้าม กำหนดการให้วัคซีนเริ่มเมื่ออายุ 2 เดือน และให้อีก 2 ครั้ง ระยะห่างกัน 2 เดือนคือ ให้เมื่ออายุ 4 และ 6 เดือน โด๊สที่ 4 ให้เมื่ออายุ 18 เดือน นับเป็นครบชุดแรก (Primary immunization) โด๊สที่ 5 ถือเป็นการกระตุ้น (booster dose) ให้เมื่ออายุ 4 ปี เด็กที่มีอายุเกิน 7 ปี แล้วจะไม่ให้วัคซีนไอกรนทั้งนี้เพราะจะพบปฏิกิริยาข้างเคียงได้สูง

ห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

                ตำแหน่งของห้องพยาบาลควรอยู่ในบริเวณที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ควรอยู่ในที่ซึ่งอึกทึกเกินไป แต่ก็ไม่ควรอยู่ใน สถานที่ซึ่งใกลเกินไป ห้องพยาบาลไม่ควรอยู่ในสถานที่ลับตาคนด้วย เพื่อความปลอดภัยของพยาบาลประจำ ขนาดของห้องพยาบาลมีการประมาณไว้ว่าควรมีขนาด 175 ตารางฟุตต่อคนงาน 200 คนหรือ 300 ตารางฟุตต่อคนงาน 500 คน

                สำหรับมาตรฐานห้องพยาบาลในสถานประกอบการ หรือ หน่วยบริการอาชีวเวชกรรม ในเชิงโครงสร้างยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน มีการศึกษา แต่เป็นหน่วยอาชีวเวชกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งมีทั้งสถานที่ทำงาน ห้องพยาบาล ห้องพัก อยู่ในหน่วยบริการนั้น ซึ่งเป็นเสมือนโรงพยาบาลขนาดเล็กในสถานประกอบการขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี มีมาตรฐานของสภาการพยาบาล ซึ่งในมาตรฐานนี้ อาจยึดเป็นมาตรฐานเชิงโครงสร้างของห้องพยาบาลในสถานประกอบการ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 8 มาตรฐานได้แก่

มาตรฐานที่ 1 หน่วยพยาบาลของสถานประกอบการ มีปรัชญา วัตถุประสงค์ และโครงสร้างองค์กรกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน

มาตรฐานที่ 2 พยาบาลที่รับผิดชอบในการบริหารและการดำเนินงานของหน่วยพยาบาลอาชีวอนามัยต้องมีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสม มีจำนวนเพียงพอในการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์

มาตรฐานที่ 3 หน่วยพยาบาลอาชีวอนามัยจะต้องมีแผนงบประมาณไว้ชัดเจน

มาตรฐานที่ 4 หน่วยพยาบาลอาชีวอนามัยของสถานประกอบการต้องมีอาคารสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้เหมาะสมและเพียงพอในการดำเนินงานด้านสุขภาพและความปลอดภัย

มาตรฐานที่ 5 บริการพยาบาลอาชีวอนามัย ต้องประกอบด้วยกิจกรรมที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและอันตรายจากการทำงาน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ปฏิบัติงาน

มาตรฐานที่ 6 บริการพยาบาลอาชีวอนามัยจะต้องใช้เทคนิคและวิธีการที่ถูกต้องเพื่อให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับปรัชญา วัตถุประสงค์จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ

มาตรฐานที่ 7 หน่วยพยาบาลอาชีวอนามัยมีระบบการบันทึกและรายงานทางการพยาบาลที่ถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งมีการจัดเก็บอย่างมีระเบียบ

มาตรฐานที่ 8 สถานประกอบการควรมีการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของการบริการพยาบาลอาชีวอนามัย

แหล่งที่มา : https://www.pidst.or.th/A299.html

Categories
บทความ

ห้องพยาบาลในสถานประกอบการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ห้องพยาบาลในสถานประกอบการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

มีคำถามมากมายเกี่ยวกับห้องพยาบาลในสถานประกอบการ ว่ามีไว้ทำอะไร ถ้าตามกฏหมาย มีไว้เพื่อเป็นที่รักษาพยาบาลแก่คนทำงานเมื่อเกิดไม่สบายหรือบาดเจ็บ แน่นอน ห้องนี้อ่อนไหวต่อการถูกยุบมากในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เนื่องจากมีข้ออ้างมากมายเกี่ยวกับการเงินของสถานประกอบการ การมีห้องพยาบาลไม่ใช่สวัสดิการและอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไม่ได้อยู่ในห้องพยาบาล อย่างไรก็ตามอาจประยุกต์ใช้มาตรฐานคลินิกของกองประกอบโรคศิลปะไปใช้ก่อนก็ได้ (อย่าลืมว่าห้องพยาบาลในสถานประกอบการไม่ใช่ที่ประกอบโรคศิลปะ นอกจากไปขอใบอนุญาติก่อน)

ห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

                ตำแหน่งของห้องพยาบาลควรอยู่ในบริเวณที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ควรอยู่ในที่ซึ่งอึกทึกเกินไป แต่ก็ไม่ควรอยู่ใน สถานที่ซึ่งใกลเกินไป ห้องพยาบาลไม่ควรอยู่ในสถานที่ลับตาคนด้วย เพื่อความปลอดภัยของพยาบาลประจำ ขนาดของห้องพยาบาลมีการประมาณไว้ว่าควรมีขนาด 175 ตารางฟุตต่อคนงาน 200 คนหรือ 300 ตารางฟุตต่อคนงาน 500 คน

                สำหรับมาตรฐานห้องพยาบาลในสถานประกอบการ หรือ หน่วยบริการอาชีวเวชกรรม ในเชิงโครงสร้างยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน มีการศึกษา แต่เป็นหน่วยอาชีวเวชกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งมีทั้งสถานที่ทำงาน ห้องพยาบาล ห้องพัก อยู่ในหน่วยบริการนั้น ซึ่งเป็นเสมือนโรงพยาบาลขนาดเล็กในสถานประกอบการขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี มีมาตรฐานของสภาการพยาบาล ซึ่งในมาตรฐานนี้ อาจยึดเป็นมาตรฐานเชิงโครงสร้างของห้องพยาบาลในสถานประกอบการ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 8 มาตรฐานได้แก่

มาตรฐานที่ 1 หน่วยพยาบาลของสถานประกอบการ มีปรัชญา วัตถุประสงค์ และโครงสร้างองค์กรกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน

มาตรฐานที่ 2 พยาบาลที่รับผิดชอบในการบริหารและการดำเนินงานของหน่วยพยาบาลอาชีวอนามัยต้องมีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสม มีจำนวนเพียงพอในการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์

มาตรฐานที่ 3 หน่วยพยาบาลอาชีวอนามัยจะต้องมีแผนงบประมาณไว้ชัดเจน

มาตรฐานที่ 4 หน่วยพยาบาลอาชีวอนามัยของสถานประกอบการต้องมีอาคารสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้เหมาะสมและเพียงพอในการดำเนินงานด้านสุขภาพและความปลอดภัย

มาตรฐานที่ 5 บริการพยาบาลอาชีวอนามัย ต้องประกอบด้วยกิจกรรมที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและอันตรายจากการทำงาน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ปฏิบัติงาน

มาตรฐานที่ 6 บริการพยาบาลอาชีวอนามัยจะต้องใช้เทคนิคและวิธีการที่ถูกต้องเพื่อให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับปรัชญา วัตถุประสงค์จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ

มาตรฐานที่ 7 หน่วยพยาบาลอาชีวอนามัยมีระบบการบันทึกและรายงานทางการพยาบาลที่ถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งมีการจัดเก็บอย่างมีระเบียบ

มาตรฐานที่ 8 สถานประกอบการควรมีการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของการบริการพยาบาลอาชีวอนามัย

 

แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/257581

Categories
บทความ

โรคมือ เท้า ปาก รับมืออย่างไรดี?

โรคมือ เท้า ปาก รับมืออย่างไรดี?

ทำความรู้จักกับ “โรคมือ เท้า ปาก” เกิดจากอะไร?

โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร? โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease) เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71) Coxasackie Virus

ส่งผลให้มีอาการเป็นไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ถือได้ว่าเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย

โรคมือ เท้า ปาก สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่จะพบได้น้อยกว่า และอาการมักจะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก


สังเกตอาการโรค มือ เท้า ปาก  

เด็กๆ ที่เป็นโรคมือเท้าปาก จะมีอาการ…

• มีไข้ อ่อนเพลีย

• มีแผลในปาก

• ผื่นเป็นจุดแดงขึ้นที่มือ เท้า (อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาร่วมด้วย)

เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะใช้ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 3-7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการโดยมีอาการเริ่มต้น คือ เด็กจะเริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียสเป็นอาการนำก่อน จากนั้นจึงมีอาการอื่น ๆ ตามมาภายใน 1-2 วัน ได้แก่ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย และจะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนัง บริเวณฝ่ามือ  ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายใน

โรคมือ เท้า ปาก กี่วันหาย?

โรคมือ เท้า ปาก สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรครุนแรงได้ เช่น ก้านสมองอักเสบ หัวใจอักเสบ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสสายพันธุ์ 71 (EV71) ทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการที่อาจเป็นภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ มีไข้สูง ซึม อ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก และชัก หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วน!!! 

(อาการแทรกซ้อนจะไม่สัมพันธ์กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มที่พบตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า)

 

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อไหม? ติดต่อได้อย่างไร?

โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และจากการสัมผัสทางอ้อมผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำ และอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค โดยส่วนใหญ่มักพบการแพร่ระบาดในโรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็ก

โรคมือ เท้า ปาก สามารถเป็นซ้ำได้อีก ถ้าได้รับเชื้อไวรัสคนละสายพันธุ์กับที่เคยเกิด เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของไวรัสเอนเทอโรเช่นเดียวกันก็ตาม


มีวิธีการรักษา และป้องกันอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว อาการโรค มือ เท้า ปาก จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยแพทย์จะดูแลรักษาตามอาการ เช่น การให้รับประทานยาแก้ไข้ ในรายที่เพลียมากแพทย์อาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด ยารักษาแผลในปาก และให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่จำเป็น ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

อย่างที่ทราบกันว่าโรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้ผ่านการรับเชื้อไวรัสจากทางเดินอาหาร น้ำมูก น้ำลาย และจากการหายใจเอาเชื้อที่แพร่จากผู้ป่วยเข้าไป คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขอนามัยให้กับเด็กๆ

  •  
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
  •  
  • สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ให้เด็กๆ ล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  •  
  • ทำความสะอาดของเล่น
  •  
  • ดูแลความสะอาดของน้ำดื่มและอาหาร
  •  
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ
  •  
  • ไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
  •  
  • หากเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดเรียน และพักรักษาให้หายป่วยเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ไปแพร่เชื้อยังเด็กคนอื่นๆ และผู้ปกครองต้องรีบแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ และที่สำคัญต้องหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลาน หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรพาเด็กมาพบแพทย์โดยเร็ว

เสริมเกราะป้องกันด้วยวัคซีน

โรคมือ เท้า ปาก ระบาด! ป้องกันได้ ด้วยวัคซีนป้องกัน โรคมือเท้าปาก (EV71) โดยแนะนำให้รับวัคซีนในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม เว้นระยะห่างจากเข็มแรก 1 เดือน 

วัคซีนป้องกัน “โรคมือเท้าปาก” รุนแรง จากไวรัส EV71 (EntroVac)

  • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมือเท้าปากที่มาจากการติดเชื้อ EV71 ได้ 97.3%
  • ประสิทธิภาพการป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV71 ที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล 88.0%
  • ประสิทธิภาพการป้องกันโรคมือเท้าปากรุนแรงจากเชื้อ EV71 ได้ 100%

*อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้หลังรับวัคซีน: ปวด บวม แดง คัน บริเวณที่ฉีด, ไข้, คลื่นไส้ อาเจียน, ถ่ายเหลว, ปวดศีรษะ)

**สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน

***วัคซีนนี้ไม่สามารถใช้เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่มีสาเหตุจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสชนิดอื่น (รวมถึง Coxasackie Virus A16 และอื่นๆ)

Categories
บทความ

โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่มาพร้อมกับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่มาพร้อมกับน้ำท่วม

“ฝนตก น้ำท่วม รถติด” คือวิถีชีวิตที่เราต้องเผชิญทุกครั้งเมื่อเข้าสู่หน้าฝน สายฝนที่โปรยปรายลงมามักจะตามมาด้วยน้ำท่วมขังที่มักจะสร้างความยากลำบากให้กับผู้ที่ต้องออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน หรือไปเรียนต้องเดินลุยน้ำออกไป โดยน้ำที่ท่วมขังนั้นมักจะมีเชื้อโรคปะปนอยู่มาก ซึ่งสิ่งสกปรกเหล่านั้นจะทำให้เกิดโรคทางผิวหนังที่ชื่อว่า “โรคน้ำกัดเท้า” นั่นเอง

 

โรคน้ำกัดเท้าคืออะไร

 

โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s Foot) หรือฮ่องกงฟุต เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคขี้กลาก นั่นคือ เชื้อราในสายพันธ์ุ Dermatophytes โดยเชื้อราชนิดนี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่เปียกชื้น เช่น รองเท้าที่ลุยน้ำท่วม พื้นห้องอาบน้ำ หรือพื้นบริเวณสระว่ายน้ำ เป็นต้น เมื่อเราใส่รองเท้าที่มีเชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตอยู่จะทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้านั่นเอง

นอกจากนี้เชื้อราชนิดนี้ยังสามารถติดเชื้อได้จากการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น รองเท้า ถุงน้ำ ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ซึ่งเชื้อราชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะในส่วนอื่น ๆ ได้ด้วย

 

อาการของโรคน้ำกัดเท้า

 

จะเกิดอาการที่พบได้บ่อยในง่ามนิ้วเท้า โดยอาการในระยะแรกที่ยังไม่มีการติดเชื้อนั้นเท้าจะมีลักษณะเปื่อย แดง และลอกเพราะเกิดการระคายเคือง แต่ถ้าหากมีอาการคันและเกาจนเกิดเป็นแผลจะมีการอักเสบ และติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งการติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ปวด แผลเป็นหนอง ผิวเป็นขุย และลอกออกเป็นแผ่นสีขาว อาจมีกลิ่นเหม็นตามซอกเท้า

 

น้ำกัดเท้า

 

การรักษาโรคน้ำกัดเท้า

 

รักษาเท้าให้สะอาด ล้างเท้าให้สะอาด พยายามเช็ดแผลให้แห้ง ไม่ควรสวมรองเท้าปิด หรือใส่ถุงเท้า เปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่ที่แห้งและสะอาด ใช้ครีม หรือขี้ผึ้งกันเชื้อรา หรือโรยแป้งที่เท้าเพื่อไม่ให้เท้าเปียกชื้น หากแผลติดเชื้อราสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วยได้ ซึ่งหากแผลติดเชื้อจะต้องรับประทานยาติดต่อกันอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์แต่หากมีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์

 

ข้อปฏิบัติในการป้องกันน้ำกัดเท้า

 

  • หลีกเลี่ยงการยืนแช่น้ำเป็นเวลานาน
  • เมื่อต้องลุยน้ำ ควรสวมถุงพลาสติก หรือสวมถุงดำหุ้มเท้าไว้เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา และป้องกันของมีคมทิ่มแทงเท้า
  • หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำโดยไม่ได้สวมถุงพลาสติก เมื่อลุยน้ำแล้วควรรีบทำความสะอาดเท้า และเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าที่มักจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น รองเท้าแตะ ถุงเท้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลี่ยงการลุยน้ำ เพราะหากเกิดแผลจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย และรักษาให้หายได้ยากกว่าคนปกติ
  • หากเกิดบาดแผลลึกควรรีบทำความสะอาดแผลทันที หรือเข้าใช้บริการที่สาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อทำแผล และหากบาดแผลมีหนอง หรือเกิดการอักเสบควรรีบพบแพทย์ทันที

 

การเดินลุยน้ำท่วมขังอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ง่าย แต่มีวิธีป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วยข้อปฏิบัติที่กล่าวไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้การหมั่นรักษาความสะอาดร่างกายยังเป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่งด้วย