Categories
บทความ

ภูมิแพ้

ภูมิแพ้

ภูมิแพ้ คือ โรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยที่ร่างกายจะมีปฏิกิริยาไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแพ้ โรคชนิดนี้มักไม่ค่อยรุนแรงถึงชีวิต แต่จะส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือทำงาน ภูมิแพ้เป็นโรคที่พบมากในประชากรทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี
อาการของโรคภูมิแพ้

  • มีผื่นที่ผิวหนัง เช่นผื่นแพ้ ลมพิษ คันตามผิวหนัง
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
  • ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด โรคหอบ หืด
  • เคืองตา  และตาแดง คัดจมูก
  • บวมรอบปาก อาเจียน และถ่ายเหลว
  • แสบคอ น้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ

 

โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
            ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้มีอาการเวลานานๆ อาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก นอนกรน ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผิวหนังติดเชื้อ คออักเสบ ไอเรื้อรัง  หูชั้นกลางอักเสบ ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดอาการโรคภูมิแพ้ได้ง่าย หรือมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น อากาศหนาว อาการเปลี่ยน หรือมลพิษในอากาศ

 

สาเหตุ ของโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ

  • กรรมพันธุ์ กรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ คือ สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย เพราะภูมิแพ้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ ถ้าพ่อ หรือแม่เป็น ลูกก็จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ประมาณ 30% แต่ถ้าหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกที่เกิดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้สูงถึง 60 – 70 %
  • สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากเพราะสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้าสู่ร่างกายของเรา เกิดจากภาวะแวดล้อมทั้งสิ้น ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การหายใจ การรับประทานอาหาร หรือแม้กระทั่งการสัมผัสสารที่ร่างกายได้รับ หรือสัมผัสแล้วทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ตามมา ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น ละอองเกสร เชื้อรา อาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ขาว อาหารทะเลนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ ได้แก่ อากาศเปลี่ยน การสัมผัสสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่

การทดสอบภูมิแพ้ (Allergy Skin Prick Test)
               เมื่อร่างกายเกิดโรคภูมิแพ้ เราจำเป็นต้องทราบว่าร่างกายแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด เพราะการรักษาที่ดีสุด คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ การทดสอบภูมิแพ้ เป็นการทดสอบภูมิแพ้ต่อสารชนิดต่างๆ ทางผิวหนัง โดยแพทย์จะเป็นผู้ทำการทดสอบด้วยน้ำยาทดสอบภูมิแพ้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้สารใดบ้าง เช่น แมลงสาบ ขนแมว ไรฝุ่น เชื้อรา ขนสุนัข เกสร หญ้า ฝุ่นบ้าน และแพ้อาหารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการทดสอบชนิดนี้ไม่ทำให้คนไข้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด และแพทย์ก็สามารถแจ้งผลการตรวจให้คนไข้ทราบได้ทันที

 

การรักษาภูมิแพ้

  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง เนื่องจากการรักษาที่ดีที่สุดของโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการรักษา หรือเพื่อบรรเทา และควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น
  • การใช้ยารักษา แพทย์จะวินิจฉัย และจ่ายยาให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่มีอาการคัดจมูกมากอาจจะต้องใช้ยาลดอาการคัดจมูก สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังอาจจะต้องใช้ยาพ่นจมูก
  • การฉีดวัคซีนรักษาโรคภูแพ้ โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารก่อภูมิแพ้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgG การฉีดจะเลือกฉีดเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ที่ทดสอบทางผิวหนังแล้วพบว่าแพ้ จากนั้นแพทย์จะเพิ่มขนาดยาตามตารางเวลา ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดจะมีรอยผื่นแดง ผื่นคัน นานประมาณ 4 – 8 ชั่วโมง ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น คือ การคัดจมูก น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้มักจะเกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีด มีส่วนน้อยที่อาจจะแพ้ยาที่ฉีดชนิดรุนแรง แต่อาการมักเป็นชั่วคราว และหายได้หลังจากแพทย์ให้ยาแก้แพ้

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสาร หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
  • ดูแลร่างกายให้สดชื่น แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และควรออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำเมื่อมีน้ำมูกเรื้อรัง
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำ และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง พบแพทย์เมื่อมีอาการแทรกซ้อนระหว่างการรักษา เช่น มีไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ หอบ เป็นต้น
Categories
บทความ

โรคฉี่หนู และวิธีการรักษาเบื้องต้น

โรคฉี่หนู วิธีการรักษาเบื้องต้น

โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์สู่คน เชื้อก่อโรคจะปนออกมากับฉี่ของสัตว์ต่างๆ โดยหนูจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด จึงเรียกว่า โรคฉี่หนู แต่อย่างไรก็ตามสัตว์อื่นๆ อย่างเช่น สุนัข วัว ควาย ก็สามารถมีเชื้อ และ แพร่เชื้อมาสู่คนได้เช่นเดียวกัน (เชื้อนี้ไม่ทำให้สัตว์มีอาการป่วย) โดยเชื้อจะถูกขับออกมากับฉี่ของสัตว์เหล่านี้มาอยู่ในดินที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมขัง หรือตามสวนไร่นาที่มีน้ำขัง และเชื้อก็จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้นานเป็นเดือน เมื่อคนย่ำน้ำที่มีเชื้อฉี่หนูอยู่ เชื้อก็จะไชเข้าสู่ผิวหนังและทำให้คนป่วยได้

 

อาการของโรค

โรคฉี่หนู จะแสดงอาการภายในเวลาประมาณ 10 วันหลังได้รับเชื้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการ จะมีอาการที่ไม่รุนแรง และ มักหายเองได้ภายในเวลา 5 – 7 วัน คือ

  • มีไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ หรือ ข้อต่อต่างๆ โดยมักปวดมากบริเวณน่องขา
  • ตาแดง
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว แต่มีผู้ป่วยราว 5-10% ที่อาการเหมือนจะดีขึ้น และ หายดีประมาณ 1-3 วัน หลังจากนั้นกลับทรุดลง เนื่องจากมีการพัฒนาของโรคไปสู่โรคฉี่หนูแบบรุนแรง ทำให้ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล โดยจะมีอาการเหล่านี้เกิดร่วมมากับไข้ ได้แก่
  • ตัวตาเหลือง
  • มือบวม เท้าบวม
  • เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย หรือไอปนเลือด
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้ใจสั่นหน้ามืด
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้ปวดศีรษะมากหรือชักได้
  • ปัสสาวะออกน้อยลง จากภาวะไตวายเฉียบพลัน
 

แนวทางการดูแลรักษา

ส่วนมากโรคฉี่หนูมักไม่มีอาการรุนแรงและหายดีได้เอง แต่การรักษาโดยการให้ยาฆ่าเชื้อ ก็จะช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น ป้องกันการเกิดอาการฉี่หนูแบบรุนแรง และ ป้องกันการกลับไปติดเชื้อซ้ำได้

ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ ยากลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบบฉีด หรือ ดอกซีไซคลิน (Doxycycline) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบบกิน ระยะเวลาในการรักษา คือ 5-7 วัน ผู้ป่วยต้องรับประทานยา หรือฉีดยาตามกำหนดให้ครบถ้วนแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดจนหมดยาแก้ปวด อย่างไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ พาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคฉี่หนูแบบรุนแรง จะต้องนอกรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือและฉีดยาฆ่าเชื้อต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจออกจากโรงพยาบาลได้ภายในไม่กี่วัน แต่บางรายอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย และความเสียหายต่ออวัยวะภายในด้วย

  • ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ ยากลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบบฉีด หรือ ดอกซีไซคลิน (Doxycycline) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบบกิน ระยะเวลาในการรักษา คือ 5-7 วัน ผู้ป่วยต้องรับประทานยา หรือฉีดยาตามกำหนดให้ครบถ้วนแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดจนหมด
  • ยาแก้ปวด อย่างไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ พาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดอาการปวดศีรษะ มีไข้ และปวดกล้ามเนื้อได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคฉี่หนูแบบรุนแรง จะต้องนอกรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือและฉีดยาฆ่าเชื้อต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจออกจากโรงพยาบาลได้ภายในไม่กี่วัน แต่บางรายอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย และความเสียหายต่ออวัยวะภายในด้วย
Categories
บทความ

โรคฉี่หนู อันตรายที่มาพร้อมกับฝน

โรคฉี่หนู อันตรายที่มาพร้อมกับฝน

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจาก การลุยน้ำ หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางแผล หรือผิวหนังอ่อนนุ่ม จากการแช่น้ำนาน และเป็นโรคที่ระบาดมากในฤดูฝน เนื่องจากน้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคต่างๆไหลมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำขัง 

ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อก่อโรคฉี่หนู เป็นแบคทีเรียอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู หมู สุนัข วัว หรือแม้แต่กระทั่วสัตว์ป่าต่างๆ

หากมีประวัติการเดินลุยน้ำ และมีอาการปวดศรีษะ ไข้ขึ้นสูง ปวดตามกล้ามเนื้อ ควรรีบพบแพทย์ทันที หากปล่อยไว้นานอาการอาจมากถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการของโรคฉี่หนู

ผู้ติดเชื้อจากโรคฉี่หนูส่วนใหญ่จะมีระยะฟักตัวแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางรายมีอาการเร็วภายใน 2 วัน บางหลายอาจหลายสัปดาห์หรือถึง 1 เดือน ส่วนใหญ่ผู้ที่รับเชื้อจะไม่มีอาการหรือมีเพียงเล็กน้อย จะมีเพียง 10-15% ที่จะมีอาการรุนแรง และมักมีอาการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 

ระยะแรก

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น 
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
  • เจ็บช่องท้อง
  • ตาแดงหรือระคายเคืองที่ตา
  • มีผื่นขึ้น
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องเสีย

 

ระยะที่สอง

  • มือ เท้า หรือข้อเท้าบวม
  • เจ็บหน้าอก
  • ตัวเหลืองตาเหลือง หรือภาวะดีซ่าน
  • หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • ภาวะเลือดออกง่ายตามอวัยวะต่างๆ และอาจทำให้อวัยวะต่างๆทำงานล้มเหลวและเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อก่อโรคฉี่หนู

  • คนที่ทำงานฟาร์มปศุสัตว์หรือสัมผัสเนื้อหรือมูลของสัตว์
  • คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ
  • ผู้ที่ชอบเดินป่า ท่องเที่ยวตามแม่น้ำ ทะเลสาบ น้ำตก
  • ผู้ที่อาบน้ำตามแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นแหล่งน้ำจืดทั้งหลาย
  • ชาวประมงที่หาสัตว์ตามแหล่งน้ำจืด

 

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคฉี่หนู

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยคือ ภาวะไตวายเฉียบพลัน สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเกี่ยวกับปอดที่ร้ายแรงอย่างการมีเลือดออกในปอด ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • การแท้งในหญิงตั้งครรภ์
  • ภาวะแข็งตัวของเลือดในหลอดอาหาร
  • กล้ามเนื้อลายสลายตัว
  • โรคเกี่ยวกับตา เช่น ม่านตาอักเสบ
  • โรคหลอดเลือดในสมอง เลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หลอดเลือดสมองอักเสบ
  • อาการแพ้ที่ทำให้มีไข้หรือเกิดผื่นที่ขา
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • ภาวะหัวใจวาย

 

การป้องกัน

  • เลี่ยงการลุยน้ำ หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน 
  • สวมรองเท้าบูท และถุงมือยาง ถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำ
  • ปิดพลาสเตอร์ หากมีบาดแผลเพื่อไม่ให้แผลสัมผัสกับน้ำ
  • ทานอาหารปรุงสุก สด ใหม่ ผัก ผลไม้ ต้องล้างให้สะอาด
  • ล้างมือ อาบน้ำ เมื่อลุยน้ำมา ต้องชำระล้างร่างกายทันที
  • ทำความสะอาดบริเวณบ้าน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้มีหนูชุกชุม

แหล่งที่มา : https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/193

Categories
บทความ

สังเกตอาการ 4 ระยะฟักตัวโรคฝีดาษลิง

สังเกตอาการ 4 ระยะฟักตัวโรคฝีดาษลิง

ณ ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ในประเทศไทยแล้ว และ WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้ออกมาประกาศว่า ให้ทุกประเทศเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อฝีดาษลิง โดยโรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง และติดต่อโดยการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เพราะฉะนั้นการสังเกตอาการหรือรู้ระยะฟักตัวของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ

โดยอาการของโรคฝีดาษลิง ตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงหายจากโรคจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1 เรียกว่า ระยะฟักตัว : ระยะตั้งแต่รับเชื้อ จนเกิดอาการ ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ โดยจะอยู่ในช่วง 5-21 วันหลังจากได้รับเชื้อ

ระยะที่ 2 เรียกว่า ระยะไข้ หรือระยะก่อนออกผื่น : ระยะนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ 1-4 วัน จะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ได้แก่ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว เจ็บคอ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีแผลในปาก และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย ซึ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโตถือเป็นอาการเฉพาะของโรคฝีดาษลิง

ระยะที่ 3 เรียกว่า ระยะออกผื่น : อาการระยะนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ บางรายอาจะเป็นนานถึง 4 สัปดาห์ จะมีผื่นหรือตุ่มขึ้นเป็นจำนวนมากตามร่างกาย โดยจะเริ่มจากผื่นแบน แล้วเป็นผื่นนูน ต่อด้วยตุ่มน้ำใส และตุ่มน้ำขุ่น หรือตุ่มหนอง จนกระทั่งเป็นผื่นแผลแห้งเป็นขุย เมื่อตุ่มหนองต่าง ๆ แห้งหมด จะถือว่าหมดระยะแพร่เชื้อ

ระยะที่ 4 เรียกว่า ระยะฟื้นตัว : ใช้เวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์

สังเกตอาการ4ระยะฟักตัวโรคฝีดาษลิง
 

การรักษาโรคฝีดาษลิง

  • รักษาตามอาการ หากอาการไม่รุนแรง
  • มีการนำยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาฝีดาษคน มาใช้รักษาโรคฝีดาษลิง ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แต่ประโยชน์และผลการรักษาจากการใช้ยาดังกล่าวยังไม่ชัดเจน