Categories
บทความ

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19

งานวิจัยเผย อาการไม่รู้รส-ไม่ได้กลิ่น มีโอกาสเสี่ยงเป็นโควิด 19 สูงถึง 10 เท่า!

โรคโควิด 19 คือ โรคติดต่ออุบัติใหม่ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด โดยไวรัสและโรคอุบัติใหม่ชนิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในประเทศจีน เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปี ค.ศ.2019 ขณะนี้โรคโควิด 19 มีการระบาดใหญ่เป็นวงกว้างจนส่งผลกระทบเป็นอย่างมากในด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจของแทบทุกประเทศทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน มาทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัยกัน

รู้หรือไม่ ? ไวรัสโคโรนามีหลายสายพันธุ์

ไวรัสโคโรนาเป็นสาเหตุของโรคทั้งในสัตว์และคน มีไวรัสโคโรนาหลากหลายสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง เช่น โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS), โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) รวมถึงไวรัสโคโรนาที่ค้นพบล่าสุดซึ่งทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อทางการสำหรับใช้เรียก โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า “โควิด-ไนน์ทีน” (Covid-19) โดยชื่อนี้มาจากคำย่อในภาษาอังกฤษของคำว่าโคโรนา, ไวรัส และดีซีส (Disease) ที่แปลว่าโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งเลข 19 ซึ่งแสดงถึงปี ค.ศ. ที่มีรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรก

โรคโควิด 19 แพร่ระบาดได้อย่างไร

โควิด 19 ติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายซึ่งปะปนออกมาเมื่อผู้ป่วยโรคโควิด19 ไอ จามหรือพูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ไปไม่ได้ไกล และจะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว การรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตรจึงเป็นเรื่องจำเป็น ละอองเหล่านี้ยังสามารถตกลงสู่วัตถุและพื้นผิวต่างๆ เช่น โทรศัพท์, โต๊ะ, ลูกบิดประตู, ราวจับ ฯลฯ และเมื่อคนเอามือไปจับพื้นผิวเหล่านั้นแล้วมาสัมผัสตัวเอง เช่น จับตา จมูก หรือปาก ก็จะได้รับเชื้อโรคตัวนี้เข้าสู่ร่างกาย นี่ซึ่งอาจป้องกันได้ด้วยการล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอลเจลก่อนและหลังการสัมผัส เราจะสามารถติดเชื้อโควิด 19 จากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการได้หรือไม่ ผู้ป่วยโควิด19 จำนวนมากมีอาการเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะติดเชื้อโควิด 19 จากผู้ป่วยที่ไอเล็กน้อยและไม่รู้สึกป่วยเลย และที่น่ากลัวคือผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการเลยก็สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน

อาการของโรคโควิด 19

อาการทั่วไปของโรคโควิด 19 พี่พบมากที่สุดคือ ไข้(อุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส), ไอ และอ่อนเพลีย

อาการอื่นๆ ได้แก่ ปวดเมื่อย เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส คัดจมูก น้ำมูกไหล ท้องเสีย หรือผื่นตามผิวหนัง หรือสีผิวเปลี่ยนตามนิ้วมือนิ้วเท้า อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนักและค่อยๆเริ่มทีละน้อย บางรายติดเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยส่วนมาก (80%) หายป่วยได้โดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล

งานวิจัยชิ้นล่าสุดยังบอกว่า หากไม่ได้กลิ่น และไม่รู้รสชาติ มีความเสี่ยงมากกว่า 10 เท่าที่จะติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าอาการมีไข้ ไอ จาม เสียอีก โดยผู้ติดเชื้ออาจยังสามารถรับรู้ความแตกต่างของรสชาติได้บ้าง อย่างความเค็ม หรือความหวาน แต่จะไม่สามารถบอกรสชาติได้ชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการรับรู้กลิ่น ก็มักจะสูญเสียความสามารถในการรับรู้รสได้เช่นกัน

ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่มีอาการหนักและหายใจลำบาก แล้วเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ มะเร็ง พบว่าจะมีแนวโน้มของอาการป่วยรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น

อย่างไรก็ตามทุกคนสามารถติดโรคโควิด 19 ได้ และมีโอกาสพัฒนาไปมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน หากสงสัยอาการของตน ควรปรึกษาแพทย์ทันที หากเป็นไปได้ แนะนำให้โทรไปล่วงหน้า เพื่อสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำตามความเสี่ยงของท่านได้เหมาะสมมากขึ้น

เราจะป้องกันตัวเองได้อย่างไรหากไม่รู้ว่าใครมีเชื้อบ้าง

ควรใส่หน้ากากเสมอเมื่อออกไปที่สาธารณะ หรืออยู่ในที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกัน รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนที่กำลังไอหรือจาม เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจยังไม่แสดงอาการ และยังไม่แน่นอนว่าคนยังสามารถแพร่เชื้อต่อได้นานเท่าใดหลังจากหายแล้ว ดังนั้นจึงควรทำตามคำแนะนำเรื่องการแยกตัวอย่างเคร่งครัด

การกักตัว การแยกตัว การเว้นระยะ

ความแตกต่างระหว่างการแยกตัว การกักตัว และการเว้นระยะ คืออะไร

การกักตัว (Quarantine) หมายถึง การที่บุคคลที่ไม่ป่วยแต่อาจมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด 19 จำกัดกิจกรรมของตนเองและแยกตัวออกจากคนอื่น จุดประสงค์คือเพื่อดูอาการและเพื่อให้สามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้แต่เนิ่นๆ

การแยกตัว (Isolation) หมายถึงการแยกผู้ติดเชื้อที่เป็นโรคโควิด 19 และอาจแพร่เชื้อได้ออกมา เพื่อป้องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

การเว้นระยะ (Social Distancing) คือการอยู่ห่างกันและกัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น ส่วนนี้เป็นมาตรการทั่วไปที่ทุกคนควรทำถึงแม้ว่าจะแข็งแรงดีและไม่มีประวัติสัมผัสโรคโควิด19 เลยก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาสุขอนามัยของตนเอง โดยการใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้องอยู่เสมอ และหมั่นล้างมือ หรือทำความสะอาดมือก่อนรับประทานอาหาร และก่อนไปหยิบจับอะไรรอบ ๆ ตัว ก็เป็นเรื่องที่ควรทำให้เป็นนิสัย แม้จะไม่มีการระบาดของโรคนี้ก็ตาม

อ้างอิง

  1. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

  2. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf

  3. https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019

  4. https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/knowcovid-final-pages-r01.pdf

  5. https://tmc.or.th/pdf/Covid-19-MD-AmornUpdate.pdf

เรียบเรียงโดย
น.ส.โศศิษฐา พงษ์เสถียรศักดิ์
เจ้าหน้าที่พยาบาล
ส่วนงานบริหารจัดการโรงพยาบาลและข้อมูลสุขภาพ ศูนย์บริการการแพทย์

Categories
บทความ

วัคซีน คืออะไร…แล้วทำไมเราถึงต้องฉีดวัคซีน ?

วัคซีน คืออะไร…
แล้วทำไมเราถึงต้องฉีดวัคซีน ?

วัคซีน (Vaccine)

คือสารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าไปร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ส่วนใหญ่ทำมาจากเชื้อโรค แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทำจากเชื้อโรคที่ตายแล้วมีสารของเชื้อโรคมาฉีดเข้าตัวเรา และ ทำจากเชื้อโรคที่อ่อนแอ ทำให้มันสลบพิษจะได้ไม่รุนแรง เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายคนเรา ร่างกายเราก็จะสร้างภูมิคุ้มกัน กับโรคนั้นๆ

วัคซีนสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งในปัจจุบันจะมีตารางสำหรับฉีดวัคซีน ว่าควรเริ่มฉีดตั้งแต่อายุเท่าไหร่

วัคซีนชนิดต่างๆ
  1. วัคซีนBCGป้องกันวัณโรค
    • ฉีด0.1MLที่ไหล่ซ้าย
    • ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้นถ้าไม่มีหลักฐานว่าเคยได้มาก่อน ให้ฉีดซ้ำเมื่ออายุ6เดือน
    • ถ้าเคยได้วัคซีนมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ว่าจะไม่มีแผล
  2. วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี
    • เด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มถ้าไม่มีข้อห้ามและเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน
    • ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลลบ หรือไม่ทราบผลก็ให้ฉีดวัคซีนจำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ1-2เดือน และอายุ 6 เดือน
    • ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลบวก(โดยเฉพาะถ้าHBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี HBIG 0.5 ซีซีภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่1พร้อมๆกันคนละตำแหน่งกับที่ฉีด HBIG วัคซีนเข็มที่2 ให้เมื่ออายุ1-2 เดือน และครั้งที่3เมื่ออายุ 6 เดือน
    • ถ้ามารดามี HBsAg ให้ผลบวก แต่ไม่มียา HBIG ควรให้วัคซีนเข็มที่1 ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด เข็มที่2 และเข็มที่3 ให้เมื่ออายุทารก 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
    • กรณีมาทราบภายหลังว่ามารดามี HBsAg ให้ผลบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าทารกได้วัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วันตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมที่มีทั้ง คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และไวรัสตับอักเสบบี (DPT-HB) ที่อายุ 2 4 และ 6 เดือน แต่ถ้ามารดามี HBsAg ให้ผลบวกและทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย(รวมเป็น 5 ครั้ง)
    • เด็กที่ไม่เคยฉีดวัคซีนตับอักเสบบีมาก่อนเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปีสามารถฉีดวัคซีนในเดือนที่ 0,1,6 ตามลำดับ ส่วนเด็กอายุ 11-15 อาจฉีดเพียง 2 ครั้งในเดือนที่ 0 และ4-6 ให้ใช้วัคซีนขนาด 1 ซ๊ซี เท่าผู้ใหญ่
    • เด็กที่คลอดมาจากมารดาที่มี HBsAg ให้ผลบวก อาจจะพิจารณาตรวจ HBsAG และ Anti-HBs เมื่ออายุ 9-18 เดือน
  3. วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
    • สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์( DTaP) แทนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)ได้ทุกครั้ง
    • หากใช้ชนิดDTaP ก็ควรใช้ทั้ง 3 ครั้งเมื่ออายุ 2,4,6 เดือนถ้าไม่สามารถหาชนิดเดียวกันได้ ก็ใช้ชนิดใดก็ได้
    • สำหรับเข็มกระตุ้น 18 เดือนอาจจะใช้ DTwP หรือ DTaP ชนิดใดก็ได้
    • เมื่ออายุ 4-6 ปีอาจจะใช้ DTwP หรือ DTaP หรือ Tdap ก็ได้
    • เด็กอายุ11-12 ปีควรจะได้รับ Tdap หรือ Td ไม่ว่าจะได้ Tdap เมื่ออายุ4-6ปีมาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี
    • สำหรับการฉีดกระตุ้น Td ทุก10ปี ควรจะมีคั้งหนึ่งที่ใช้ Tdap
  4. วัคซีนป้องกันโปลิโอ
    • สามารถใช้ชนิดฉีด (ปัจจุบันรวมอยู่กับวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก)แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง
    • หากใช้ชนิดกินสลับกับชนิดฉีดต้องให้ 5 ครั้งตาม OPV
    • การให้วัคซีนป้องกันโปลิโอเกินกว่าที่กำหนด ไม่มีข้อเสีย และสามารถรับ OPV เพิ่มในช่วงที่มีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโปลิโอได้
  5. หัด หัดเยอรมัน คางทูม
    • ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน ครั้งที่2เมื่ออายุ 4-6 ปีควรพิจารณาให้ฉีดเร็วๆ(9 เดือน) ในพื้นที่ที่ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และควรฉีด๙้า(12เดือน)ในพื้นที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อยในเด็กต่ำกว่า 1 ปี
    • การฉีดเข็มที่2อาจจะให้ได้ตั้งแต่อายุ 2ปีครึ่งตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข
    • กรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มที่2 เร็วขึ้นก่อนอายุ 4 ปีก็ได้ โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
    • กรณีที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูมและอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด หัดเยอรมัน คางทูมและอีสุกอีใส MMRV แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ทุกครั้งในเด็กอายุตั้งแต่ 1-12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบว่ามีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน การใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือนมีโอกาศเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแบบแยกเข็ม กรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อนแนะนำให้ใช้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อนหรือ VZV มาก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
  6. วัคซีนป้องกันฮีบ HIB
    • ปัจจุบันมีวัคซีน 2 ชนิดคือ conjugated กับ PRP-T และHbOC ในเด็กไทยแนะนำให้ฉีด 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน
    • การฉีดเข็มกระตุ้นที่อายุ 12-18 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องฉีดในเด็กแข็งแรง ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง
    • ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฮีบในเด็กปกติทีอายุ 2 ปีขึ้นไป
    • หากเริ่มช้าให้พิจารณาฉีดตามตาราง
    • อายุที่เริ่มฉีด                              เดือนที่ของการฉีด PRP-T HbOC2-6 เดือน                                        0,2,4 ฉีดกระตุ้นอายุ 12-18 เดือน7-11 เดือน                              0,2 ฉีดกระตุ้นอายุ12-18

      12-24 เดือน                         เข็มเดียว

      >24 เดือน เฉพาะผู้ที่เสี่ยง 0,2

               ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคฮีบ เช่นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ

  7. ไข้สมองอักเสบเจอี
    • วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated vaccine ) ปัจจุบันมีสองชนิดคือ mouse-brain derived vaccine (MBV) ซึ่งอยู่ในแผนของกระทรวงสาธารณสุข และสายพันธื P3 เพาะเลี้ยงใน vero cell (JEVAC) ทั้งสองชนิดฉีดสามครั้งเริ่มเมื่ออายุ 9-18 เดือนเข็มต่อมาอีก 4 สัปดาห์ และ 1 ปี ปีตามลำดับ สำหรับ MBV อาจจะพิจารณาให้ฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้ง ห่างจากเข็มสามอย่างน้อย 4-5ปี

      วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE) ใช้สายพันธ์ 14-14-2 ให้ฉีดสองครั้งมี สองชนิดคือ CDJAX เริ่มฉีดเมื่ออายุู 9-12 เดือน และเข็มที่2 อีก 3-12 เดือน อีกชนิดคือ Chimeric JE (MOJAV) เริ่มฉีดที่อายุ 12 เดือนและเข็มที่สองอีก 12-24 เดือนต่อมา สามารถใช้วัคซีนชนิด live je แทนชนิด MBV ได้ทั้งในการฉีดชุดแรก และการฉีดกระตุ้น

      ยังไม่มีข้อมูลการใช้ live je ต่างชนิดกันทดแทนกัน

      ในกรณีที่เคยได้ MBV มาก่อนและต้องการฉีดต่อด้วย live JE vaccine ให้พิจารณาฉีดตามตาราง

                  ประวัติฉีดวัคซีน MBV ในอดีต                         ข้อแนะนำในการฉีด live-attenuated JE

      1เข็ม                                                         ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-24 เดือน (แล้วแต่ชนิดของวัคซีน)

      2-3 เข็ม                                         ฉีด 1 เข็ม ห่างจากเข็มสุดท้าย 1 ปี

      มากกว่าหรือเท่ากับ4เข็ม                    ไม่ต้องฉีด

  8. ตับอักเสบเอ
    • มีสองชนิดคือ formalin-inactivated vaccine และ virosome vaccine
    • ฉีดได้ตั้งอายุ 1 ปีขึ้นไปฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือนใช้ต่างชนิดได้ในการฉีดแต่ละครั้ง
  9. อีสุกอีใส
    • ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเข็มแรกอายุ 12-18 เดือน
    • พิจารณาให้ฉีดเข็มที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี อาจจะฉีดเข็มที่สองก่อนอายุ 4 ปีก็ได้ในกรณีที่มีการระบาดแต่ต้องห่างเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
    • พิจารณาให้วัคซีนนี้แก่เด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ยังไม่เคยเป็นอีกสุกอีใส
    • ถ้าอายุมากกว่า 13 ปีให้ฉีดสองเข็มห่างกันอย่างน้อน 1 เดือน
  10. ไข้หวัดใหญ่
    • พิจารณาให้ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 18 ปีโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรงเช่นเด็กที่จะเป็นโรคเรื้อรัง(รวมหอบหืด) โรคหัวใจ โรคอ้วนที่ BMIมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคเรื้อรังเป็นต้น
    • ถ้าอายุน้อยกว่า 9 ปี การฉีดครั้งแรกต้องฉีดสองเข็มห่างกันหนึ่งเดือน กรณีที่ปีแรกได้ไปฉีดเพียงครั้งเดียว ปีต่อมาให้ฉีดสองครั้งหลังจากนั้นให้ฉีดปีละครั้ง
    • ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง (0.25 ซีซี)
  11. นิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต
    • ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ชนิดรุนแรง (invasive disease) หรือรุนแรง ดังตาราง และในเด็กแข็งแรงปกติที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ประสค์จะป้องกันโรค
    • ปัจจุบันมีวัคซีนชนิด10สายพัน์( PCV10) และชนิด13สายพันธ์( PCV13 ) ให้สามครั้งเมื่ออายุ 2,4,6 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 12-15 เดือนโดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือนหากเริ่มฉีดว้าให้ฉีดตามตาราง
    • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีกรณีที่ได้ PCV7 ครบแล้ว 4 ครั้งพิจารณาให้ PCV13 อีกหนึ่งครั้งห่างจาก PCV7 เข็มสุดท้ายอย่างน้อย 8 สัปดาห์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธ์ที่เพิ่มเติมขึ้น
    • อายุที่เริ่มฉีด                               จำนวนครั้งที่ฉีด                                            การฉีดกระตุ้น2-6 เดือน                        PCV 3 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์                       PCV 1 ครั้งอายุ12-15 เดือน

      7-11 เดือน                      PCV 2 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์                       PCV 1 ครั้งอายุ12-15 เดือน

      12-23 เดือน                     PCV 2 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์                      ไม่ต้องฉีด

      เด็กปกติ 2-5 ปี     PCV10 ให้ 2 ครั้ง PCV13 ให้1ครั้ง ไม่ต้องฉีด

      เด็กเสี่ยง

      – อายุ 2-5 ปี     PCV13 ให้ 2 ครั้งให้สองครั้งห่างกัน 8 สัปดาห์     ฉีดกระตุ้นด้วย PS-23 1   เข็มห่างจาก   PCV   เข็มสุดท้าย 8 สัปดาห์

      -อายุ 6-18 ปี    PCV13 ให้ 1 ครั้ง    ฉีดกระตุ้นด้วย PS-23 1  เข็มห่างจาก  PCV  เข็มสุดท้าย  8 สัปดาห์

      PCV=Pneumococcal conjugated vaccine, PS-23=23-valent pneumococcal polysaccharide vaccine

    • เด็กเสี่ยงคือเด็กที่มีโอกาศเป็นโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสอย่างรุนแรงมากกว่าเด็กปกติได้แก่ เด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากสาเหตุต่างๆ ภาวะไม่มีบ้าน ธัลลาสซีเมีย โรคเรื้อรังของอวัยวะต่างๆ เช่นโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน และโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเช่น csf leakage ,cochlear implantation
    • สำหรับเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันไม่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงแต่พิจารณาให้วัคซีนได้
    • ในเด็กกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดควรจะได้วัคซีน PCV13 ดังตาราง และเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปควรได้รับการฉีดวัคซีน PS-23 ด้วยเสมอไม่ว่าจะสามารถฉีด PCV ได้หรือไม่ก็ตาม และหากเป็นเด็กเสี่ยงภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะไม่มีม้ามหรือธาลัสซีเมียควรฉีดวัคซีน PS-23 ซ้ำอีก 1 ครั้งห่างจากครั้งแรก 5 ปี การฉีด PCV ก่อนแล้วตามด้วย PS-23 จะให้ผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการฉีดด้วย PS-23 เพียงอย่างเดียว หรือฉีด PS-23 แล้วตามด้วย PCV
    • ในเด็กปกติอาจพิจารณาให้ฉีดแบบ2+1(รวมเป็นการฉีด 3 ครั้ง) คือฉีดเมื่ออายุ 2,4 เดือนและ 12-15 เดือน
  12. โรต้า
    • ชนิด Monovalent ให้กินสองครั้งเมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน
    • ชนิด Pentavalent ให้กินสามครั้งเมื่ออายุ 2,4 และ 6 เดือน
    • วัคซีนทั้งสองชนิด สามารถเริ่มให้ครั้งแรก เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน8เดือน แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
    • ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
    • สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
    • ห้ามใช้วัคซีนในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง severe combined immune deficiency และในเด็กที่มประวัติลำไส้กลืนกัน
  13. เอชพีวี HPV วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
    • มีสองชนิดคือ ชนิดสองสายพันธ์ ( bivalent มีสายพันธ์ 16 และ18)และชนิด 4 สายพันธ์(quavalent มีสายพันธ์ 6,11,16,18)
    • แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงอายุ 9-26 ปี(เน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปีโดยฉีด 3 เข็มเดือนที่ 0,1-2 และ 6
    • ประสิทธิภาพจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
    • การฉีดในผู้ที่อายุมากกว่า 26 ปีอาจพิจารณาให้เป็นกรณีๆไป
    • การฉีดในเด็กผู้ชายพิจารณาให้ฉีดเฉพาะ 4 สายพันธ์ ในช่วงอายุ 9-26ปีเน้นให้ในช่วงอายุ 11-12 ปี และในกลุ่มชายรักชายอายุ 9-26ปี